Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13424
Title: Legal Problems Concerning Waste Management of Local Administrative Organizations : A Case Study of Municipalities
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการของเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษากรณีเทศบาล
Authors: Wuttipong Cheychew
วุฒิพงษ์ เฉยฉิว
Inkarat Doljem
อิงครัต ดลเจิม
Sukhothai Thammathirat Open University
Inkarat Doljem
อิงครัต ดลเจิม
[email protected]
[email protected]
Keywords: ของสีย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล
Waste
Local Government Organizations
Municipalities
Issue Date:  9
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: This independent research aimed to (1) study the concepts related to the decentralization of waste management to municipalities, (2) examine foreign waste management concepts from countries like Japan and the Federal Republic of Germany, (3) compare and analyze the significant laws and measures related to waste management in Thailand and abroad, specifically in Japan and the Federal Republic of Germany, and (4) develop appropriate recommendations for improving the laws related to municipal waste management.                       This independent study was qualitative research, utilizing document analysis methods from textbooks, books, and both Thai and international legal texts, articles, dissertations, theses, research reports, journals, and various documents, including internet data, to conduct an analysis aimed at achieving the predefined objectives.                       The study found that (1) Thailand has implemented the concept of decentralization to local governments to align with the main goal of the decentralization process, such as transferring responsibilities, defining the budget allocation for municipalities, amending acts and various laws that hinder municipal waste management. This is to empower municipalities to use these laws and regulations as a basis for enacting by-laws related to waste management.  (2) The primary laws related to waste management in Japan and the Federal Republic of Germany consist of environmental policy laws and comprehensive waste management policy laws from the source. These laws clearly define waste to ensure the most efficient waste management possible, promote sustainable environmental management, and maximize resource utilization. Furthermore, they establish the roles and responsibilities of each sector in society to collaboratively maintain public order and systematically manage waste.  (3) Thai law regarding municipal waste management only mandates that municipalities are responsible for the collection, transportation, and disposal of waste, focusing on the operational steps of the public sector. This differs from the primary laws in Japan and the Federal Republic of Germany, which emphasize waste reduction over disposal. Additionally, Thailand does not define the roles and responsibilities of citizens in waste management within its laws, unlike Japan and the Federal Republic of Germany. Therefore, it is advisable to define the roles and responsibilities of citizens in participating and engaging in waste management activities alongside municipalities, including the duty to separate waste before disposal.  (4) It is recommended that local governments, such as municipalities, use the Public Health Act B.E. 2535 (1992) and its amendments as the sole foundation for enacting by-laws related to waste management. This act is aimed at ensuring that municipal waste management, a national-level issue, is conducted efficiently and with maximum benefit. It is also advisable to amend the Public Health Act to consider the Act on Drafting Laws and Assessing the Effectiveness of Laws B.E. 2562 (2019), making it the principal law for future comprehensive municipal waste management, similar to Japan's Waste Management and Public Cleansing Act.
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจในการจัดการของเสียให้แก่เทศบาล (2) ศึกษา แนวคิด ที่เกี่ยวกับการจัดการของเสียของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (3) ศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์กฎหมายและมาตรการที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี  (4) เสนอแนะที่เหมาะสมในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียของเทศบาล                       การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตำรา หนังสือ และตัวบทกฎหมายของไทยและต่างประเทศ บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานการวิจัย วารสารเอกสารต่าง ๆ ตลอดจนข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้                       ผลการศึกษาพบว่า (1) ประเทศไทยได้ดำเนินการตามแนวคิดการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการกระจายอำนาจเป็นเป้าหมายหลัก เช่น การถ่ายโอนภารกิจ การกำหนดสัดส่วนเงินงบประมาณของเทศบาล การแก้ไขพระราชบัญญัติ และกฎหมายลำดับต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการของเสียของเทศบาล เพื่อให้อำนาจเทศบาลนำกฎหมายและระเบียบเหล่านั้นมาเป็นฐานในการออกเทศบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดการของเสียได้ (2) กฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียของประเทศญี่ปุ่นและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประกอบด้วยกฎหมายเชิงนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อม และกฎหมายเชิงนโยบายเรื่องการจัดการของเสียตั้งแต่ต้นทางอย่างครบวงจรมีการกำหนดนิยามของของเสียที่จัดเจนและครอบคลุม เพื่อให้การจัดการของเสียอย่างเป็นไปอย่างสมบูรณ์ที่สุดส่งเสริมให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่ ในการจัดการของเสียแต่ละภาคส่วนในสังคมให้ช่วยกันดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองและจัดการของเสียอย่างเป็นระบบ (3) กฎหมายของไทยในเรื่องการจัดการของเสียของเทศบาลนั้น กำหนดเพียงให้เทศบาลมีหน้าที่เก็บ ขน และกำจัดของเสีย ซึ่งเป็นเรื่องขั้นตอนของการดำเนินงานของภาครัฐ ต่างจากกฎหมายหลักที่กำหนดในเรื่อง การจัดการของเสียของประเทศญี่ปุ่น และสหพันธ์รัฐสาธารณรัฐเยอรมัน ที่ได้มุ่งเน้นไปที่การลดปริมาณของเสียมากกว่าการกำจัดของเสีย อีกทั้งประเทศไทยไม่ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของประชาชนในการจัดการของเสียไว้ในกฎหมายเหมือนประเทศญี่ปุ่น และสหพันธ์รัฐสาธารณรัฐเยอรมัน จึงควรกำหนดบทบาทหน้าที่ของประชาชนในการมีส่วนร่วมเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการของเสียร่วมกับเทศบาล รวมทั้งมีหน้าที่ในการคัดแยกของเสียก่อนทิ้ง (4) ควรเสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเทศบาลใช้พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพียงฉบับเดียวเป็นฐาน ในการออกเทศบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสีย เหตุเพราะพระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้การจัดการของเสียของเทศบาลซึ่งเป็นปัญหาระดับประเทศ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด และเห็นควรให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดทำร่างกฎหมายและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางกฎหมาย พ.ศ. 2562 ให้พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง เป็นกฎหมายหลักในการบริหารจัดการของเสียของเทศบาลที่สมบูรณ์ในอนาคต ในลักษณะเช่นเดียวกับกฎหมายการจัดการของเสียของประเทศญี่ปุ่น อย่างพระราชบัญญัติการจัดการของเสียและรักษาความสะอาดเรียบร้อยของบ้านเมือง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13424
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2584003699.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.