Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13424
Title: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการของเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษากรณีเทศบาล |
Other Titles: | Legal problems concerning waste management of local administrative organizations : a case study of municipalities |
Authors: | อิงครัต ดลเจิม วุฒิพงษ์ เฉยฉิว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี ขยะและการกำจัดขยะ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจในการจัดการของเสียให้แก่เทศบาล (2) ศึกษา แนวคิด ที่เกี่ยวกับการจัดการของเสียของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (3) ศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์กฎหมายและมาตรการที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (4) เสนอแนะที่เหมาะสมในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียของเทศบาล การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตำรา หนังสือ และตัวบทกฎหมายของไทยและต่างประเทศ บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานการวิจัย วารสารเอกสารต่าง ๆ ตลอดจนข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ผลการศึกษาพบว่า (1) ประเทศไทยได้ดำเนินการตามแนวคิดการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการกระจายอำนาจเป็นเป้าหมายหลัก เช่น การถ่ายโอนภารกิจ การกำหนดสัดส่วนเงินงบประมาณของเทศบาล การแก้ไขพระราชบัญญัติ และกฎหมายลำดับต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการของเสียของเทศบาล เพื่อให้อำนาจเทศบาลนำกฎหมายและระเบียบเหล่านั้นมาเป็นฐานในการออกเทศบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดการของเสียได้ (2) กฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียของประเทศญี่ปุ่นและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประกอบด้วยกฎหมายเชิงนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อม และกฎหมายเชิงนโยบายเรื่องการจัดการของเสียตั้งแต่ต้นทางอย่างครบวงจรมีการกำหนดนิยามของของเสียที่จัดเจนและครอบคลุม เพื่อให้การจัดการของเสียอย่างเป็นไปอย่างสมบูรณ์ที่สุดส่งเสริมให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่ ในการจัดการของเสียแต่ละภาคส่วนในสังคมให้ช่วยกันดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองและจัดการของเสียอย่างเป็นระบบ (3) กฎหมายของไทยในเรื่องการจัดการของเสียของเทศบาลนั้น กำหนดเพียงให้เทศบาลมีหน้าที่เก็บ ขน และกำจัดของเสีย ซึ่งเป็นเรื่องขั้นตอนของการดำเนินงานของภาครัฐ ต่างจากกฎหมายหลักที่กำหนดในเรื่อง การจัดการของเสียของประเทศญี่ปุ่น และสหพันธ์รัฐสาธารณรัฐเยอรมัน ที่ได้มุ่งเน้นไปที่การลดปริมาณของเสียมากกว่าการกำจัดของเสีย อีกทั้งประเทศไทยไม่ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของประชาชนในการจัดการของเสียไว้ในกฎหมายเหมือนประเทศญี่ปุ่น และสหพันธ์รัฐสาธารณรัฐเยอรมัน จึงควรกำหนดบทบาทหน้าที่ของประชาชนในการมีส่วนร่วมเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการของเสียร่วมกับเทศบาล รวมทั้งมีหน้าที่ในการคัดแยกของเสียก่อนทิ้ง (4) ควรเสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเทศบาลใช้พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพียงฉบับเดียวเป็นฐาน ในการออกเทศบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสีย เหตุเพราะพระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้การจัดการของเสียของเทศบาลซึ่งเป็นปัญหาระดับประเทศ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด และเห็นควรให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดทำร่างกฎหมายและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางกฎหมาย พ.ศ. 2562 ให้พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง เป็นกฎหมายหลักในการบริหารจัดการของเสียของเทศบาลที่สมบูรณ์ในอนาคต ในลักษณะเช่นเดียวกับกฎหมายการจัดการของเสียของประเทศญี่ปุ่น อย่างพระราชบัญญัติการจัดการของเสียและรักษาความสะอาดเรียบร้อยของบ้านเมือง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13424 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2584003699.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.