กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13430
ชื่อเรื่อง: | มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการกลั่นแกล้งในโรงเรียน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal measures for prevention of bullying in schools |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สาธิตา วิมลคุณารักษ์ นลินพร ประทุมมาศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี การกลั่นแกล้งในโรงเรียน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก บทบาทของรัฐและมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการกลั่นแกล้งในโรงเรียน (2) ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการกลั่นแกล้งในโรงเรียนของประเทศไทยกับประเทศฟิลิปปินส์ รัฐฟลอริดาและรัฐแมสซาชูเซตส์ของประเทศสหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐเกาหลี (3) วิเคราะห์ปัญหามาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการกลั่นแกล้งในโรงเรียน (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารจากตำรา หนังสือ หนังสือรายงานประจำปี หนังสือแปล วิทยานิพนธ์ ประมวลสาระชุดวิชา สิ่งพิมพ์รัฐบาล รายงานวิจัย บทความ สารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต และงานวิชาการอื่นๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาเปรียบเทียบ วิเคราะห์ ให้ได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะจากการศึกษาพบว่า (1) รัฐมีหน้าที่ส่งเสริมสิทธิทางการศึกษาและความปลอดภัยให้แก่เด็กแต่ปัญหาการกลั่นแกล้งในโรงเรียนส่งผลร้ายต่อเด็กที่กลั่นแกล้งผู้อื่นที่อาจพัฒนาเป็นอาชญากร เด็กที่ถูกกระทำที่เสียหายในสิทธิเสรีภาพ และเด็กที่เห็นเหตุการณ์ที่ต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งประเทศไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว (2) จากการศึกษาพบว่าประเทศที่ศึกษาเปรียบเทียบมีกฎหมายเฉพาะให้โรงเรียนป้องกันการกลั่นแกล้งในโรงเรียน ซึ่งใกล้เคียงกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (3) ผลการวิเคราะห์ปัญหาพบว่า การที่ประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติให้โรงเรียนป้องกันการกลั่นแกล้งในโรงเรียน ทำให้โรงเรียนไม่ให้ความสำคัญในการคุ้มครองเด็กและส่งผลกระทบโดยตรงต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (4) ผู้ศึกษา เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเพิ่มความหมายของการกลั่นแกล้ง และบัญญัติให้โรงเรียนมีหน้าที่วางมาตรการป้องกันการกลั่นแกล้งอย่างมีแบบแผน และห้ามนักเรียนกลั่นแกล้งผู้อื่น เป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งยังควรจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะในโรงเรียนที่มีตัวแทนจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาอีกด้วย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13430 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2614001408.pdf | 2.2 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น