กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13438
ชื่อเรื่อง: Legal Measures and Preparation of a National DNA Database for Verification of Criminal Forensic Evidence
มาตรการทางกฎหมายและการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอแห่งชาติเพื่อการพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์คดีอาญา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: WIYADA THONGPAGDE
วิยะดา ธงภักดิ์
Supatra Phanwichit
สุพัตรา แผนวิชิต
Sukhothai Thammathirat Open University
Supatra Phanwichit
สุพัตรา แผนวิชิต
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: มาตรการทางกฎหมาย การจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอแห่งชาติ การพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ คดีอาญา
Legal measures
a National DNA database preparation
forensic evidence verification
criminal case
วันที่เผยแพร่:  7
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The thesis aims (1) to study concepts and theories related to DNA storage laws, DNA storage authority, DNA storage guidelines, and DNA database preparation for forensic evidence in criminal cases and (2) to study the laws for storing DNA, DNA storage authority, DNA storage guidelines, and the preparation of DNA databases in England, the United States, the People’s Republic of China, and Thailand. (3) In addition, to analyze and compare DNA storage laws. DNA storage authority, DNA storage guidelines, and the preparation of DNA databases of England, the United States, and the People's Republic of China with those of Thailand, and (4) to propose legal measures and the creation of a national DNA database for forensic evidence in criminal cases.This thesis is qualitative research using document research methods by researching and collecting information from synthesizing and analyzing data from a literature review and document research on legal content related to DNA storage, DNA storage authority, DNA storage guidelines, and the creation of DNA databases in England, the United States, and the People's Republic of China in comparison with Thailand to prepare a summary of research findings and provide further suggestions.The study results found that (1) according to the relevant theoretical concepts, the law provides that for collecting DNA from those involved in criminal cases, both during investigations and in court, the investigating officer and the court have the authority to order doctors or experts to collect the DNA according to human rights principles, principles of crime control, and legality. The DNA database is like creating a new criminal history registry for crime control. (2) In England, legislation was enacted to authorize the storage of DNA and to establish criteria for classification according to offenses and storage methods under human rights principles. For the United States, each state has the authority to enact its law. There are primary laws supporting the information search systematically. In the People's Republic of China, DNA is stored without law but through the state's authority. In Thailand, DNA is stored only based on consent. (3) In England, the law has been changed to allow compulsory DNA storage for the state's benefit in maintaining the country's security and safety. The United States has three levels of data linkage laws and agencies: local, state, and national. The People's Republic of China can compulsorily collect DNA from citizens according to state policy, taking into account the goals of collection. In Thailand has a constitution of the Kingdom of Thailand that supports the use of forensic science in the justice process, it still lacks law and criterion for storing DNA to enforce it equally in all cases. (4) There are three proposals for creating a national DNA database: 1) DNA storage authorization: laws should be enacted to protect individual rights and freedoms, equivalent to the state's interest in maintaining the country’s security and effective law enforcement. 2) DNA storage criteria: criteria for storing DNA with the rights and freedoms of the person should be expanded to be flexible. If it is considered that storing DNA from a person's body only slightly affects the rights and freedoms of the person more than the benefit of the state, establishing criteria for storing DNA has limitations that hinder the preparation of a DNA database for forensic evidence in criminal cases. and 3) a National DNA database preparation: the act should be enacted to support the search and data linking systematically.
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการจัดเก็บดีเอ็นเอ อำนาจการจัดเก็บดีเอ็นเอ หลักเกณฑ์การจัดเก็บดีเอ็นเอ และการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอเพื่อการพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ในคดีอาญา (2) ศึกษากฎหมายการจัดเก็บดีเอ็นเอ อำนาจการจัดเก็บดีเอ็นเอ หลักเกณฑ์การจัดเก็บดีเอ็นเอ และการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศไทย (3) วิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายการจัดเก็บดีเอ็นเอ อำนาจการจัดเก็บดีเอ็นเอ หลักเกณฑ์การจัดเก็บดีเอ็นเอ และการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐประชาชนจีน เปรียบเทียบกับประเทศไทย และ (4) เสนอมาตรการทางกฎหมายและการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอแห่งชาติเพื่อการพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์คดีอาญาวิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร โดยการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล จากเอกสาร การสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมและการวิจัยเอกสารจากเนื้อหาด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บดีเอ็นเอ อำนาจการจัดเก็บดีเอ็นเอ หลักเกณฑ์การจัดเก็บดีเอ็นเอ และการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยนำมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย เพื่อการจัดทำสรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) จากแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กฎหมายบัญญัติให้จัดเก็บดีเอ็นเอจากผู้เกี่ยวข้องในคดีอาญาทั้งในชั้นสอบสวนและในชั้นศาล โดยพนักงานสอบสวนและศาลเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจัดเก็บตามหลักสิทธิมนุษยชน หลักการควบคุมอาชญากรรมและความชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ การจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเปรียบเสมือนการจัดทำทะเบียนประวัติอาชญากรรูปแบบใหม่เพื่อการควบคุมอาชญากรรม (2) ในประเทศอังกฤษบัญญัติกฎหมายเพื่อให้อำนาจจัดเก็บดีเอ็นเอและกำหนดหลักเกณฑ์จำแนกตามฐานความผิดและวิธีการจัดเก็บตามหลักสิทธิมนุษยชน สำหรับสหรัฐอเมริกาให้อำนาจแต่ละมลรัฐตรากฎหมายขึ้นเอง โดยมีกฎหมายหลักบัญญัติรองรับการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ ในสาธารณรัฐประชาชนจีนจัดเก็บดีเอ็นเอโดยปราศจากกฎหมายแต่อาศัยอำนาจสั่งการจากรัฐ ส่วนประเทศไทยจัดเก็บดีเอ็นเอตามหลักความยินยอมเท่านั้น (3) ในประเทศอังกฤษได้มีการปรับเปลี่ยนกฎหมายให้บังคับจัดเก็บดีเอ็นเอได้เพื่อประโยชน์ของรัฐในการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายและหน่วยงานเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูล 3 ระดับ คือ ระดับท้องถิ่น ระดับมลรัฐ และระดับชาติ ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนสามารถบังคับจัดเก็บดีเอ็นเอจากประชาชนตามนโยบายรัฐโดยคำนึงถึงเป้าหมายในการจัดเก็บเป็นสำคัญ ขณะที่ประเทศไทยที่มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่สนับสนุนให้นำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในกระบวนการยุติธรรมแต่ยังขาดกฎหมายและหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บดีเอ็นเอเพื่อบังคับใช้อย่างเท่าเทียมกันทุกคดี (4) ข้อเสนอเพื่อการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอแห่งชาติมี 3 ประการ คือ 1) ด้านการให้อำนาจจัดเก็บดีเอ็นเอ ควรบัญญัติกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลเทียบเท่ากับประโยชน์ของรัฐในการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงปลอดภัยของประเทศและการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ด้านหลักเกณฑ์การจัดเก็บดีเอ็นเอ ควรขยายหลักเกณฑ์การจัดเก็บดีเอ็นเอกับสิทธิเสรีภาพของบุคคลให้มีความยืดหยุ่น หากมองว่าการจัดเก็บดีเอ็นเอจากเนื้อตัวร่างกายของบุคคลเพียงเล็กน้อยกระทบกับสิทธิเสรีภาพของบุคคลมากกว่าประโยชน์ของรัฐ การกำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บดีเอ็นเอย่อมมีข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอเพื่อการพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์คดีอาญา และ 3) ด้านการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอแห่งชาติ ควรบัญญัติกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติเพื่อรองรับการสืบค้นและเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13438
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2614004139.pdf1.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น