กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13440
ชื่อเรื่อง: | การใช้บังคับกฎหมายการเดินอากาศกับอากาศยานไร้คนขับ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Law enforcement aviation and unmanned aircraft |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิกรณ์ รักษ์ปวงชน กนกวรรณ วงษ์กระสันต์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อิงครัต ดลเจิม |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ การบิน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ อากาศยานไร้นักบิน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงความคิดอันเป็นรากฐานของกฎหมายการเดินอากาศกับอากาศยานไร้คนขับ เพื่อให้ทราบความหมาย ความมุ่งหมาย ตลอดถึงลักษณะสำคัญทางกฎหมายซึ่งแตกต่างจากกฎหมายประเภทอื่น (2) ศึกษามาตรการการใช้บังคับกฎหมายการเดินอากาศกับอากาศยานไร้คนขับของประเทศไทยประเทศสิงคโปร์ และประเทศแคนาดา (3) วิเคราะห์ปัญหาการใช้บังคับกฎหมายการเดินอากาศกับอากาศยานไร้คนขับของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศสิงคโปร์ และประเทศแคนาดา (4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายการเดินอากาศกับอากาศยานไร้คนขับของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพในการใช้บังคับมากยิ่งขึ้นวิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารจากเอกสารต่างๆ หนังสือ วารสาร บทความ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตำราวิชาการ อนุสัญญาที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีด้านการบิน ตัวบทกฎหมาย เอกสารทางราชการ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องแล้วนำมารวบรวมวิเคราะห์และสรุปเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายการเดินอากาศกับอากาศยานไร้คนขับต่อไปผลการศึกษาพบว่า (1) การใช้บังคับกฎหมายการเดินอากาศกับอากาศยานไร้คนขับนั้นถูกกำกับดูแลอย่างเคร่งครัด การกำกับดูแลนั้นมีหลายชั้น (2) จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายการเดินอากาศกับอากาศยานไร้คนขับของประเทศสิงคโปร์และประเทศแคนาดา มีกฎหมายเฉพาะสำหรับอากาศยานไร้คนขับ แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับอากาศยานไร้คนขับ (3) การวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายการเดินอากาศกับอากาศยานไร้คนขับของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศสิงคโปร์ และประเทศแคนาดา พบว่ากฎหมายประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับอากาศยานไร้คนขับและบทลงโทษที่ยังไม่มีความเหมาะสมกับการกระทำผิดที่อาจเกิดขึ้นซึ่งกระทบต่อความปลอดภัยชีวิต ทรัพย์สิน และความมั่นคงของประเทศแต่ประเทศสิงคโปร์ และประเทศแคนาดา มีบทลงโทษที่รุนแรงและเด็ดขาดเพื่อป้องกันเหตุและอันตรายจากผู้ใช้อากาศยานไร้คนขับ (4) ควรให้เพิ่มเติมถ้อยคำตัวบทมาตรา 24 ของ พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 โดยกำหนดให้มีการผ่านการอบรมใบอนุญาตตามที่รัฐมนตรีกำหนดการอบรมใบอนุญาตอากาศยานไร้คนขับประเภทต่าง ๆ บทลงโทษเกี่ยวกับผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตในการบินของอากาศยานไร้คนขับประเภทต่าง ๆ ละรวมถึงโทษของการกระทำผิดซ้ำ ตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การอบรมใบอนุญาตอากาศยานไร้คนขับประเภทต่าง ๆ การประกันภัย บทลงโทษเกี่ยวกับผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตในการบินของอากาศยานไร้คนขับประเภทต่าง ๆ และรวมถึงโทษของการกระทำผิดซ้ำ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13440 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2624000531.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น