กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13443
ชื่อเรื่อง: | Witness Protection for anonymous witness in election cases การคุ้มครองพยานที่ไม่เปิดเผยตัวตนในคดีเลือกตั้ง |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | CHOTIKA WATCHARINRAT โชติกา วัชรินทร์รัตน์ Wanwipa Muangtham วรรณวิภา เมืองถ้ำ Sukhothai Thammathirat Open University Wanwipa Muangtham วรรณวิภา เมืองถ้ำ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | การคุ้มครองพยาน คดีเลือกตั้ง witness protection election cases |
วันที่เผยแพร่: | 9 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | Independent study aims to (1) Study concepts and theories regarding witness law, emphasizing the importance of witness protection, concealment measures, and the non-disclosure of names, surnames, and addresses of witnesses. (2) Study and compare concealment measures regarding the non-disclosure of names, surnames, and addresses of witnesses in the judicial systems of Thailand, the French Republic, the Federal Republic of Germany, and the Kingdom of New Zealand. (3) Study and analyze problems regarding the use of concealment measures, particularly in election cases, while ensuring the non-disclosure of names, surnames, and addresses of witnesses. (4) To suggest guidelines and amendments to relevant laws to implement concealment measures, specifically prohibiting the disclosure of names, surnames, and addresses of witnesses in cases related to election violations and limiting the use of such measures.This independent study is qualitative research method, involving the examination of legal codes, articles, journals, and electronic media documents. Both the laws of Thailand and foreign laws are analyzed and compared to draw conclusions and make suggestions for amending and improving the law.The study's findings are as follows: (1) Witness protection in election law is intended to support the criminal justice system under the crime control model. One protective measure is concealment, which prevents the disclosure of a witness's name, surname, and address. (2) Unlike the French Republic, the Federal Republic of Germany, and the Kingdom of New Zealand, Thailand's judicial system lacks a law allowing for the use of concealment measures in court cases. However, laws in these foreign countries permit such measures under specified conditions. (3) While there is a process for witness protection using concealment measures in the investigation and inquiry of the Election Commission, there is still no law permitting their use in Thailand's judicial system regarding election law. (4) There shall be, therefore, amended the rules of the general meeting of the Supreme Court regarding the consideration and decision of cases concerning the right to run for election and the revocation of the right to run for election or the right to vote in the election of members of the House of Representatives, B.E. 2561. Regulations of the General Assembly of the Supreme Court regarding the consideration and decision of cases regarding the right to run for election and the revocation of the right to run for election or the right to vote in elections for local council members or local administrators, B.E. 2562. and the Constitutional Act on the Election Commission, B.E. 2560, allowing for the use of concealment measures names, surnames, and addresses of witnesses in court proceedings under conditions specified by law. While still considering the defendant's right to a fair trial. การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง การคุ้มครองพยานที่ไม่เปิดเผยตัวตนในคดีเลือกตั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับกฎหมายลักษณะพยาน ความสำคัญของการคุ้มครองพยาน มาตรการปกปิด มิให้เปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของพยาน (2) ศึกษาและเปรียบเทียบมาตรการปกปิด มิให้เปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่พยานในระบบการพิจารณาคดีของประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการใช้มาตรการปกปิด มิให้เปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุลและที่อยู่พยานในคดีเลือกตั้ง (4) เพื่อเสนอแนะแนวทางและการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาตรการปกปิด มิให้เปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่พยานมาใช้กับระบบการพิจารณาคดีเลือกตั้งพร้อมทั้งจำกัดการใช้มาตรการดังกล่าวการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากประมวลกฎหมาย บทความ วารสาร เอกสารข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งกฎหมายของประเทศไทย และกฎหมายของต่างประเทศ โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบ เพื่อหาข้อสรุป และข้อเสนอแนะ ในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายผลการศึกษาพบว่า (1) การคุ้มครองพยานในคดีเลือกตั้งมีขึ้นเพื่อสนับสนุนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาภายใต้ทฤษฎีควบคุมอาชญากรรม โดยหนึ่งในมาตรการคุ้มครองพยาน คือ มาตรการปกปิด มิให้เปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของพยาน (2) ระบบการพิจารณาคดีของประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายกำหนดอนุญาตให้นำมาตรการดังกล่าวมาใช้ในชั้นพิจารณาคดี แตกต่างจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ ที่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้มาตรการดังกล่าวในชั้นพิจารณาคดีของศาลภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด (3) มีกระบวนการคุ้มครองพยานโดยใช้มาตรการดังกล่าวในชั้นสืบสวนและไต่สวนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่ยังไม่มีกฎหมายกำหนดอนุญาตให้นำมาตรการดังกล่าวมาใช้ในระบบวิธีพิจารณาคดีเกี่ยวกับการกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง (4) จึงเสนอแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 ให้สามารถใช้มาตรการปกปิด มิให้เปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของพยานในชั้นพิจารณาคดีของศาลภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด โดยยังคงคำนึงถึงสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีของจำเลยอย่างเป็นธรรม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13443 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2624001695.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น