Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13445
Title: | ปัญหาเกี่ยวกับสถานะของเจ้าหน้าที่ในการพิจารณาทางปกครองในกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่ทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ |
Other Titles: | Problems concerning status of the official in administrative procedures for a case where any other official cannot carry out the duties of conducting the administrative procedures |
Authors: | สุพัตรา แผนวิชิต ชนกันต์ เจริญรัมย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี วิธีพิจารณาคดีปกครอง การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีหลักความเป็นกลางที่เจ้าหน้าที่ทำการพิจารณาทางปกครอง โดยใช้หลักทฤษฎีความไว้วางใจ และทฤษฎีหลักนิติธรรม รวมถึงหลักความเป็นกลาง (2) ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และกฎหมายต่างประเทศอื่น รวมทั้งกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับสถานะที่ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 เกี่ยวกับกฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่กระทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ.2566 (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวกับสถานะที่ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 เกี่ยวกับกฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่กระทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ.2566 (4) เสนอแนะเพื่อให้ได้ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ของกฎกระทรวงที่ชัดเจนและข้อปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติราชการทางปกครอง และเพื่อแนะแนวทางการแก้ไขการแก้ปัญหาของสถานะเหล่านั้นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการทางปกครอง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ บทความทางวิชาการและข้อมูลทางวิชาการ ความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดและศาลฎีการวมไปถึงคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และกฎหมายต่างประเทศอื่น เพื่อให้ได้ข้อกำหนดที่ชัดเจนของสถานะเจ้าหน้าที่ ในการพิจารณาทางปกครอง ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาทางปกครองพบว่าการพิจารณาทางปกครองเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในหลักความเป็นกลางและต้องไม่มีส่วนได้เสียกับการพิจารณาทางปกครองในทุกๆเรื่อง จนเป็นเหตุให้เสียหลักความเป็นกลาง (2) กฎหมายไทยมีการบัญญัติอำนาจของเจ้าหน้าที่ถึงหลักความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครองไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง แต่ในกฎหมายไทยยังมิได้มีบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าหน้าที่ ที่มีสถานะอื่น ทำการพิจารณาทางปกครองได้ แต่ในกฎหมายต่างประเทศกำหนดบทบัญญัติไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับสถานะของเจ้าหน้าที่ ทั้งใน สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และกฎหมายต่างประเทศอื่น (3) ปัญหาที่เจ้าหน้าที่ซึ่งไม่มีสถานะตามที่กฎหมายรับรองนั้น อาจจะพิสูจน์ได้ยาก และอาจจะทำให้เจ้าหน้าที่พิจารณาทางปกครองไม่อยู่บนพื้นฐานของหลักความเป็นกลาง (4) ข้อเสนอแนะ ควรมีหลักเกณฑ์ที่ออกตามความในกฎกระทรวงในการพิจารณาทางปกครอง และกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่มีกฎหมายรับรองสถานะเพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติราชการบนพื้นฐานหลักความเป็นกลาง โดยชอบด้วยกฎหมาย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13445 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2634000398.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.