กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13445
ชื่อเรื่อง: | Problems Concerning Status of the Official in Administrative Procedures for a Case Where any Other Official Cannot Carry out the Duties of Conducting the Administrative Procedures ปัญหาเกี่ยวกับสถานะของเจ้าหน้าที่ในการพิจารณาทางปกครองในกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่ทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | CHANAKAN JAROENRUM ชนกันต์ เจริญรัมย์ Supatra Phanwichit สุพัตรา แผนวิชิต Sukhothai Thammathirat Open University Supatra Phanwichit สุพัตรา แผนวิชิต [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | หลักความเป็นกลาง, หลักไม่มีส่วนได้เสีย, พิจารณาทางปกครอง, สถานะของเจ้าหน้าที่ Neutrality Principle; Impartiality Principle; Administrative Procedure; Status of the Official |
วันที่เผยแพร่: | 7 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | This Independent study (1) to study concepts, theories and principles of neutrality where the official conducts administrative procedures, by applying a principle of trust and a principle of rule of law, as well as a principle of impartiality; (2) to study foreign laws in comparison with Thai laws concerning the status, which are prescribed by virtue of the provisions of Administrative Procedure Act, B.E. 2539 (1996), relating to Ministerial Regulation Stipulating Other Cases Where Officials Cannot Conduct Administrative Procedures, B.E. 2566 (2023); (3) to study and analyze problems concerning the status, which are prescribed by virtue of the provisions of Administrative Procedure Act, B.E. 2539, relating to Ministerial Regulation Stipulating Other Cases Where Officials Cannot Conduct Administrative Procedures, B.E. 2566; (4) to study recommendations on definite terms and criteria of the Ministerial Regulation, and practices of the officials in carrying out administrative capacity, which conduct the lawful administrative procedures, and to propose approaches to solving the problems with the status for benefits of carrying out administrative capacity.
This independent study is a qualitative research into laws, employing a method of documentary research into the administrative procedure law, the Constitution, rules and regulations, academic articles and data, opinions of the Council of State, judgments of the Supreme Administrative Court and the Supreme Court, as well as deliberation and decision of the courts, and foreign laws.
The results show that: (1) the concepts and theories concerning the administrative procedures require that, in carrying out their administrative capacity, all the administrative officials must strictly adhere to the principles of neutrality, and must not hold any stakes in any cases of conducting the administrative procedures, otherwise their neutrality will be compromised; (2) the Thai laws provide with the official capacity according to the principles of neutrality to conduct the administrative procedures in the Administrative Procedure Act, but do provide with capacity of the official in other status to conduct the administrative procedures, whereas the foreign laws clearly stipulate the provisions concerning the status of the officials, as in the Administrative Procedure Act of Finland, or the Administrative Procedure Code of Portugal; (3) the problems with officials, whose status is not recognized by the laws, are difficult to be proven, and may compromise the officials' adherence to the principles of neutrality; (4) the research proposes that criteria for determining status of officials, and cases where status of the officials is not recognized by the laws, should be stipulated by virtue of the provisions of the Ministerial Regulations Regarding Administrative Procedures, in order that the officials shall lawfully and impartially carry out the administrative capacity according to the principles of neutrality. การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีหลักความเป็นกลางที่เจ้าหน้าที่ทำการพิจารณาทางปกครอง โดยใช้หลักทฤษฎีความไว้วางใจ และทฤษฎีหลักนิติธรรม รวมถึงหลักความเป็นกลาง (2) ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และกฎหมายต่างประเทศอื่น รวมทั้งกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับสถานะที่ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 เกี่ยวกับกฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่กระทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ.2566 (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวกับสถานะที่ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 เกี่ยวกับกฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่กระทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ.2566 (4) เสนอแนะเพื่อให้ได้ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ของกฎกระทรวงที่ชัดเจนและข้อปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติราชการทางปกครอง และเพื่อแนะแนวทางการแก้ไขการแก้ปัญหาของสถานะเหล่านั้นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการทางปกครอง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ บทความทางวิชาการและข้อมูลทางวิชาการ ความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดและศาลฎีการวมไปถึงคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และกฎหมายต่างประเทศอื่น เพื่อให้ได้ข้อกำหนดที่ชัดเจนของสถานะเจ้าหน้าที่ ในการพิจารณาทางปกครอง ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาทางปกครองพบว่าการพิจารณาทางปกครองเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในหลักความเป็นกลางและต้องไม่มีส่วนได้เสียกับการพิจารณาทางปกครองในทุกๆเรื่อง จนเป็นเหตุให้เสียหลักความเป็นกลาง (2) กฎหมายไทยมีการบัญญัติอำนาจของเจ้าหน้าที่ถึงหลักความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครองไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง แต่ในกฎหมายไทยยังมิได้มีบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าหน้าที่ ที่มีสถานะอื่น ทำการพิจารณาทางปกครองได้ แต่ในกฎหมายต่างประเทศกำหนดบทบัญญัติไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับสถานะของเจ้าหน้าที่ ทั้งใน สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และกฎหมายต่างประเทศอื่น (3) ปัญหาที่เจ้าหน้าที่ซึ่งไม่มีสถานะตามที่กฎหมายรับรองนั้น อาจจะพิสูจน์ได้ยาก และอาจจะทำให้เจ้าหน้าที่พิจารณาทางปกครองไม่อยู่บนพื้นฐานของหลักความเป็นกลาง (4) ข้อเสนอแนะ ควรมีหลักเกณฑ์ที่ออกตามความในกฎกระทรวงในการพิจารณาทางปกครอง และกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่มีกฎหมายรับรองสถานะเพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติราชการบนพื้นฐานหลักความเป็นกลาง โดยชอบด้วยกฎหมาย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13445 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2634000398.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น