Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13448
Title: ปัญหาทางกฎหมายกรณีการยกเลิกจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
Other Titles: Legal problems of procurement cancellations in Public Procurement and Supplies Administration Act, B.E. 2560
Authors: กฤติญดา เกิดลาภผล
ศุทธิณี ยะอนันต์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งและการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากคำสั่งยกเลิกจัดซื้อหรือจัดจ้างของสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (2) ศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งและการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากคำสั่งยกเลิกจัดซื้อหรือจัดจ้างของประเทศไทย (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งยกเลิกจัดซื้อหรือจัดจ้างและการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากคำสั่งยกเลิกจัดซื้อหรือจัดจ้าง (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารจากข้อกฎหมายไทยและต่างประเทศ ตำรา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด วิทยานิพนธ์ด้านกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้อง บทความอิเล็กทรอนิกส์จากอินเตอร์เน็ต ความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน วารสารทางวิชาการ รายงานวิชาการ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิดการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองในต่างประเทศที่มีระบบคล้ายคลึงกับประเทศไทย คือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยมีแนวคิดการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองจะต้องดำเนินกระบวนการภายในฝ่ายปกครองก่อนจะฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อให้ฝ่ายปกครองได้ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายภายใต้ หลักนิติรัฐ รวมถึงการใช้เรียกร้องค่าเสียหายจากคำสั่งทางปกครองที่สามารถใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ โดยไม่ต้องใช้สิทธิเรียกร้องต่อฝ่ายปกครองก่อน (2) ประเทศไทยได้ตราพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการอุทธรณ์เฉพาะ กรณีนี้จึงไม่นำการอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาใช้บังคับ (3) จากการวิเคราะห์พบปัญหาสำคัญ 2 ประการ 1) ปัญหาเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งยกเลิกจัดซื้อจัดจ้าง ในกรณีการใช้สิทธิอุทธรณ์และกรณีการจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ 2) ปัญหาเกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากคำสั่งยกเลิกจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งกฎหมายกำหนดห้ามมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากกรณีที่ฝ่ายปกครองอาศัยเหตุตามกฎหมายออกคำสั่งยกเลิกจัดซื้อจัดจ้าง (4) ผู้ศึกษาเสนอแนะการแก้ไขกฎหมาย ดังนี้ 1) ให้มีการกำหนดการอุทธรณ์คำสั่งยกเลิกจัดซื้อจัดจ้างให้มีความชัดเจน โดยให้ยกเลิกหนังสือคณะกรรมการพิจารณาการอุทธรณ์และข้อร้องเรียน เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และบัญญัติข้อความเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ให้การยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐเป็นที่สุดในฝ่ายบริหาร  2) แก้ไขกฎหมายให้มีการกำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอราคาสามารถใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากฝ่ายปกครองได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13448
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2634000687.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.