Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13455
Title: | ปัญหาทางกฎหมายในการนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวจำเลยมาประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 |
Other Titles: | Legal problems in bringing the facts about the defendant to the Judge's Discretion in Reducing the Punishment According to Section 78 of the Thai Criminal Code |
Authors: | ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล จักรกฤษ หลักหาญ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปวินี ไพรทอง |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์ เหตุบรรเทาโทษ การบริหารข้อมูลส่วนบุคคล |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาที่มา หลักเกณฑ์ และแนวความคิด เกี่ยวกับการลดโทษให้แก่จำเลยเมื่อมีเหตุบรรเทาโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 (2) ศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ในการลดโทษให้แก่จำเลย ตามหลักกฎหมายของประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษ (3) ศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวจำเลยในส่วนที่เป็นโทษหรือในด้านความชั่วร้าย มาประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการลดโทษ (4) เสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้มีการกำหนดโทษจำเลยแต่ละรายนั้นเป็นไปด้วยความเหมาะสม และ (5) ให้สามารถบังคับใช้กฎหมาย และป้องกันปัญหาอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้าตำรา บทความ งานวิจัยทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลดโทษให้แก่จำเลยเมื่อมีเหตุบรรเทาโทษ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิจัย และนำมาวิเคราะห์ปัญหาอันนำไปสู่ข้อสรุปและข้อเสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจุบันศาลได้นำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 มาลดโทษให้แก่จำเลยถึงกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงในเกือบจะทุกคดี (2) บทบัญญัติ มาตรา 78 ไม่เปิดช่องให้ศาล นำข้อเท็จจริงในส่วนที่เป็นโทษแก่ตัวจำเลย หรือในด้านความชั่วร้ายของจำเลย มาประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการลดโทษได้ (3) การลดโทษให้แก่จำเลยถึงกึ่งหนึ่งนี้ ทำให้การกำหนดโทษแต่ละคดีไม่มีความเหมาะสมกับจำเลยแต่ละราย ทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และทำให้ขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายอาญา (4) วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 โดยบัญญัติให้ศาลสามารถนำข้อเท็จจริงในส่วนที่เป็นโทษแก่จำเลย มาประกอบการใช้ดุลพินิจลดโทษให้แก่จำเลยได้ (5) ควรมีการกำหนดโทษให้มีความเหมาะสมกับจำเลยแต่ละราย จะสามารถบังคับใช้กฎหมายอาญาในการป้องกันอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13455 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2634001917.pdf | 2.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.