Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13455
Title: | Legal Problems in Bringing the Facts about the Defendant to the Judge's Discretion in Reducing the Punishment According to Section 78 of the Thai Criminal Code. ปัญหาทางกฎหมายในการนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวจำเลยมาประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 |
Authors: | CHACKRIT LAKHAN จักรกฤษ หลักหาญ Lawan Thanadsillapakul, ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล Sukhothai Thammathirat Open University Lawan Thanadsillapakul, ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล [email protected] [email protected] |
Keywords: | เหตุบรรเทาโทษ การใช้ดุลพินิจ ข้อเท็จจริง Circumstances of reprieve Use of discretion facts |
Issue Date: | 29 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of this are : (1) to study the background, principles, and notions provided regarding the reduction of the punishment inflicted on the defendant where there is an extenuating circumstance according to article 78 of the Thai Criminal Code, (2) to compare the principles of sentence reduction of Thailand, Germany, France, United States and United Kingdom, (3) to study the legal problems regarding the judicial discretion to apply the unfavourable facts or viciousness of the defendants in considering the sentence reduction, (4) to suggest to amends Article 78 of the Thai Penal Code in order to set the punishment rate up to a more appropriate degree, and (5) to improve the law enforcement and crime prevention to be more effective.This thesis follows qualitative methodology, using the documentary research method through textbooks, articles, and researches in Thailand and abroad, including the laws related to reduction of the punishment inflicted on the defendant where there is an extenuating circumstance to obtain information that can be a guideline and suggestions in proposing amendment to the penal code.Research findings were as follows (1) the courts have currently applied article 78 of the Thai Criminal Code to reduce the punishment to be inflicted on the defendant by one-half in almost every case. (2) the provisions of article 78 does not stipulate the law allowing the courts to apply unfavorable facts of an offender for considering sentence reduction. (3) the reduction of punishment by one-half causes dispro-portionality in sentencing for an individual offender and leads to the inefficiency of law enforcement. (4) this thesis proposes the guidance to amend article 78 of the Thai Penal Code by providing the courts to apply unfavourable facts of a defendant in considering the extenuating circumstance to the defendant (5) there should be determined a reasonable proportionate sentence for an individual offender, it can enhance the law enforcement and crime prevention to be more efficient. วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาที่มา หลักเกณฑ์ และแนวความคิด เกี่ยวกับการลดโทษให้แก่จำเลยเมื่อมีเหตุบรรเทาโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 (2) ศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ในการลดโทษให้แก่จำเลย ตามหลักกฎหมายของประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษ (3) ศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวจำเลยในส่วนที่เป็นโทษหรือในด้านความชั่วร้าย มาประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการลดโทษ (4) เสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้มีการกำหนดโทษจำเลยแต่ละรายนั้นเป็นไปด้วยความเหมาะสม และ (5) ให้สามารถบังคับใช้กฎหมาย และป้องกันปัญหาอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้าตำรา บทความ งานวิจัยทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลดโทษให้แก่จำเลยเมื่อมีเหตุบรรเทาโทษ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิจัย และนำมาวิเคราะห์ปัญหาอันนำไปสู่ข้อสรุปและข้อเสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจุบันศาลได้นำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 มาลดโทษให้แก่จำเลยถึงกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงในเกือบจะทุกคดี (2) บทบัญญัติ มาตรา 78 ไม่เปิดช่องให้ศาล นำข้อเท็จจริงในส่วนที่เป็นโทษแก่ตัวจำเลย หรือในด้านความชั่วร้ายของจำเลย มาประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการลดโทษได้ (3) การลดโทษให้แก่จำเลยถึงกึ่งหนึ่งนี้ ทำให้การกำหนดโทษแต่ละคดีไม่มีความเหมาะสมกับจำเลยแต่ละราย ทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และทำให้ขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายอาญา (4) วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 โดยบัญญัติให้ศาลสามารถนำข้อเท็จจริงในส่วนที่เป็นโทษแก่จำเลย มาประกอบการใช้ดุลพินิจลดโทษให้แก่จำเลยได้ (5) ควรมีการกำหนดโทษให้มีความเหมาะสมกับจำเลยแต่ละราย จะสามารถบังคับใช้กฎหมายอาญาในการป้องกันอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13455 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2634001917.pdf | 2.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.