กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13457
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการไกล่เกลี่ยคดีอาญา : ศึกษาเฉพาะการยุติคดีอาญาชั้นสอบสวน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems in criminal disputes mediation: a case study of termination of criminal proceedings in inquiry stage
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปัณณวิช ทัพภวิมล
สุกัญญา แก้วมาก
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การไกล่เกลี่ย
การสืบสวนอาชญากรรม
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และความเป็นมาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาของประเทศไทย สหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐฝรั่งเศส (3) วิเคราะห์ปัญหาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาของประเทศไทย (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขข้อกฎหมายเพื่อให้ได้หลักเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยจากเอกสาร ผู้ศึกษาได้ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากหนังสือ เอกสารที่เป็นภาษาไทย ตำรา หนังสือ บทความทางวิชาการ บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย เช่นพระราชบัญญัติว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 รวมถึงข้อมูลทางเว็บไซต์ ที่น่าเชื่อถือ และหลักกฎหมายของสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐฝรั่งเศส แล้วนำมาวิเคราะห์ หาคำตอบและข้อเสนอแนะที่เหมาะสมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา ผลการศึกษา พบว่า (1) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาถือว่ามีความสำคัญมากโดยหลายประเทศมีแนวความคิดนำมาใช้เพื่อประโยชน์ต่อการบริหารจัดการคดีและยังผลต่อคู่กรณีที่จะเข้าใจซึ่งกันและกัน (2) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องพบว่าประเทศไทย สหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีกฎหมายบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาไว้มีความคล้ายคลึงและแตกต่างกัน (3) การยุติคดีอาญาชั้นสอบสวนนั้น ประเทศไทยการกำหนดฐานความผิดที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นสอบสวนแคบเกินไป ต่างกับสหรัฐอเมริกาที่กำหนดให้ความผิดเกือบทุกประเภทสามารถเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยได้ ส่วนการกำหนดคุณสมบัติผู้ไกล่เกลี่ยนั้นประเทศไทยยังไม่กำหนดคุณสมบัติต่างกับสหรัฐอเมริกาที่พิจารณาจากประสบการณ์ทางคดีของผู้ไกล่เกลี่ย นอกจากนี้ประเทศไทยยังกำหนดให้พนักงานสอบสวนใช้ดุลพินิจการนำคดีเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยซึ่งต่างกับสหรัฐอเมริกาที่เจ้าหน้าที่รัฐไม่ต้องใช้ดุลพินิจแต่เป็นการกำหนดให้ทุกคดีสามารถไกล่เกลี่ยได้ (4) เห็นควรเพิ่มฐานความผิดที่เข้าสู่การไกล่เกลี่ยได้ และเพิ่มรายละเอียดสมบัติบุคคลที่จะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยคดีอาญา อีกทั้งควรให้คู่พิพาทสามารถอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตของพนักงานสอบสวน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13457
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2634002121.pdf1.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น