กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13465
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาในการใช้อำนาจการออกคำสั่งทางปกครองของนายทะเบียนสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems of using the administrative order of the cooperative registrar according to the Cooperative Act B.E. 2542 and its amendments |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล ธันยดา วิเศษะภูติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงวิวัฒนาการของขบวนการสหกรณ์ พระราชบัญญัติสหกรณ์ แนวคิด ทฤษฎี กรอบของกฎหมายของการออกคำสั่งทางปกครอง และหลักการควบคุมหรือกำกับในการดำเนินการของสหกรณ์ (2) ศึกษาและวิเคราะห์บทบัญญัติกฎหมายสหกรณ์ของประเทศไทยเกี่ยวกับการกำกับดูแลสหกรณ์และการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ (3) ศึกษาและวิเคราะห์บทบัญญัติกฎหมายสหกรณ์ของประเทศอังกฤษและประเทศสิงคโปร์เกี่ยวกับการกำกับดูแลสหกรณ์ (4) ศึกษาและวิเคราะห์เชิงกฎหมายสหกรณ์ของประเทศไทยกับประเทศอังกฤษและประเทศสิงคโปร์เกี่ยวกับการกำกับดูแลสหกรณ์ (5) แก้ไขกฎหมายสหกรณ์ของประเทศไทยเกี่ยวกับการกำกับดูแลสหกรณ์ให้มีประสิทธิภาพ เป็นไปในทิศทางหรือมาตรฐานเดียวกันสหกรณ์ให้มีประสิทธิภาพ เป็นไปในทิศทางหรือมาตรฐานเดียวกัน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้าตำรา บทความ ทั้งของประเทศไทยและประเทศอังกฤษและประเทศสิงคโปร์ รวมถึงการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยน เช่น กฎกระทรวงการดำเนินงานและการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. 2564 ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องคำพิพากษาศาลฎีกา และคำพิพากษาศาลปกครอง เมื่อทำการรวบรวมและเรียบเรียงเอกสารดังกล่าวทั้งหมดแล้ว จึงทำการวิจัยโดยใช้วิธีการเขียนเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ตลอดจนประเด็นที่เป็นปัญหา พร้อมทั้งเสนอความเห็นและเสนอแนะแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นผลการศึกษาพบว่า (1) กฎหมายสหกรณ์ของประเทศไทยมีมาตรการในการกำกับดูแลการกำหนดอำนาจหน้าที่ ขอบเขตของนายทะเบียนสหกรณ์ยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน (2) กฎหมายสหกรณ์ของประเทศไทยมีการกำหนดวิธีการและเงื่อนไขให้สหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่องตามที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนดมีการใช้บังคับยังไม่มีประสิทธิภาพ (3) กฎหมายสหกรณ์ของประเทศไทยได้กำหนดกรอบระยะเวลา มาตรฐาน กระบวนการและวิธีการออกคำสั่งทางปกครองของนายทะเบียนสหกรณ์ยังไม่ชัดเจน (4) การแก้ไขพระราชบัญญัติสหกรณ์นั้นเสนอให้แก้ไขโดยให้กำหนดคำนิยามคำว่าข้อบกพร่องของสหกรณ์ กำหนดกรอบดุลพินิจของนายทะเบียนสหกรณ์เกี่ยวกับวิธีการและระยะเวลาการแก้ไขข้อบกพร่อง (5) เสนอแนะแนวทางแก้ไขพระราชบัญญัติสหกรณ์โดยกำหนดบทลงโทษกรรมการที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13465 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2644000602.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น