Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13468
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorDUANGKAMON SAKORNen
dc.contributorดวงกมล สาครth
dc.contributor.advisorSartsada Wiriyanupongen
dc.contributor.advisorศาสดา วิริยานุพงศ์th
dc.contributor.otherSukhothai Thammathirat Open Universityen
dc.date.accessioned2025-01-24T08:47:43Z-
dc.date.available2025-01-24T08:47:43Z-
dc.date.created2024
dc.date.issued10/10/2024
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13468-
dc.description.abstractThis independent study aims to (1) study the legal principles of disciplinary misconduct of government officials; (2) examine the laws on disciplinary misconduct of government officials in the French Republic, the Federal Republic of Germany, and Thailand; (3) analyze the legal issues concerning disciplinary misconduct against government officials in Thailand; and (4) propose appropriate solutions for addressing disciplinary misconduct of government officials under the Organic Act on Prevention and Suppression of Corruption B.E. 2561.This independent study adopts a qualitative research approach, utilizing document analysis from various sources, including books, textbooks, articles, journals, research papers, administrative court rulings, and online information about the disciplinary actions The findings are analyzed and summarized to provide recommendations for improving the legal framework.The study found that (1) the justice process in disciplinary proceedings is based on the principle of impartiality and the right to be heard, ensuring protection of the accused’s rights. (2) In the French Republic, a Center for the Prevention of Corruption investigates corruptions, while the Federal Republic of Germany has a Disciplinary Court under the Administrative Court that adjudicates disciplinary offenses. In Thailand, the NACC (National Anti-Corruption Commission) can conduct investigations, and the commanding officer can use the NACC’s case file to directly impose punishment on the accused. (3) The Administrative Court has ruled that the NACC’s investigation and adjudication of corruption allegations may also extend to other disciplinary offenses, and the commanding officer can used this case file to punish the accused directly. (4) It is recommended to amend Section 28 of the National Anti-Corruption Commission Act B.E. 2561 to empower the NACC to indict state officials for disciplinary offenses in all cases related to corruption.en
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด และหลักการทางกฎหมายเกี่ยวกับการชี้มูลความผิดทางวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐ (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการชี้มูลความผิดทางวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐของสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการชี้มูลความผิดทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสมในการชี้มูลความผิดทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร จากหนังสือ ตำรา บทความ วารสาร งานวิจัย คำพิพากษาศาลปกครอง ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษาหาข้อเสนอแนะต่อไปผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่ใช้ในการดำเนินการทางวินัย คือ หลักการฟังความสองฝ่าย และหลักความเป็นกลางที่ใช้ในการพิจารณาชี้มูลความผิดทางวินัย ซึ่งถือว่าเป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ถูกกล่าวหา (2) กฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีมาตรการในการจัดตั้งองค์กรในการควบคุมและตรวจสอบการทุจริต คือ ศูนย์ป้องกันคอร์รัปชั่นที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีศาลวินัยเป็นแผนกหนึ่งในศาลปกครองทำหน้าที่วินิจฉัยความผิดทางวินัย ส่วนในประเทศไทย คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนความผิดทางวินัยและชี้มูลความผิดทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่รัฐ และให้ผู้บังคับบัญชาถือเอาสำนวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้เลย (3) ศาลปกครองได้มีแนวคำวินิจฉัยว่า การไต่สวนและวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการวินิจฉัย กรณีที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และในมูลความผิดดังกล่าวอาจมีข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานใดที่ถือว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นกระทำความผิดทางวินัยในฐานความผิดอื่นย่อมอยู่ในอำนาจการชี้มูลความผิดทางวินัยแก่ผู้นั้น ผู้บังคับบัญชาผู้นั้นถือเอาสำนวนนั้นลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้เลย (4) เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มาตรา 28 เพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจชี้มูลความผิดทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในทุกฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตth
dc.language.isoth
dc.publisherSukhothai Thammathirat Open University
dc.rightsSukhothai Thammathirat Open University
dc.subjectการชี้มูลความผิดทางวินัย  เจ้าหน้าที่ของรัฐ  คณะกรรมการ ป.ป.ช.th
dc.subjectDisciplinary allegationsen
dc.subjectGovernment officialsen
dc.subjectNACC Boarden
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationPublic administration and defence; compulsory social securityen
dc.titleLegal Issues Regarding Disciplinary Misconduct of Government Officials under Organic Act on Prevention and Suppression of Corruption B.E. 2561en
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการชี้มูลความผิดทางวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561th
dc.typeIndependent Studyen
dc.typeการศึกษาค้นคว้าอิสระth
dc.contributor.coadvisorSartsada Wiriyanupongen
dc.contributor.coadvisorศาสดา วิริยานุพงศ์th
dc.contributor.emailadvisor[email protected]
dc.contributor.emailcoadvisor[email protected]
dc.description.degreenameMaster of Laws in Public Law (LL.M.)en
dc.description.degreenameนิติศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกกฎหมายมหาชน (น.ม.)th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreedisciplineMaster of Lawsen
dc.description.degreedisciplineนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2644000958.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.