Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13468
Title: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการชี้มูลความผิดทางวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 |
Other Titles: | Legal issues regarding disciplinary misconduct of government officials under Organic Act on Prevention and Suppression of Corruption B.E. 2561 |
Authors: | ศาสดา วิริยานุพงศ์ ดวงกมล สาคร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี พนักงานเจ้าหน้าที่--วินัย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด และหลักการทางกฎหมายเกี่ยวกับการชี้มูลความผิดทางวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐ (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการชี้มูลความผิดทางวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐของสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการชี้มูลความผิดทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสมในการชี้มูลความผิดทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร จากหนังสือ ตำรา บทความ วารสาร งานวิจัย คำพิพากษาศาลปกครอง ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษาหาข้อเสนอแนะต่อไปผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่ใช้ในการดำเนินการทางวินัย คือ หลักการฟังความสองฝ่าย และหลักความเป็นกลางที่ใช้ในการพิจารณาชี้มูลความผิดทางวินัย ซึ่งถือว่าเป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ถูกกล่าวหา (2) กฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีมาตรการในการจัดตั้งองค์กรในการควบคุมและตรวจสอบการทุจริต คือ ศูนย์ป้องกันคอร์รัปชั่นที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีศาลวินัยเป็นแผนกหนึ่งในศาลปกครองทำหน้าที่วินิจฉัยความผิดทางวินัย ส่วนในประเทศไทย คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนความผิดทางวินัยและชี้มูลความผิดทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่รัฐ และให้ผู้บังคับบัญชาถือเอาสำนวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้เลย (3) ศาลปกครองได้มีแนวคำวินิจฉัยว่า การไต่สวนและวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการวินิจฉัย กรณีที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และในมูลความผิดดังกล่าวอาจมีข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานใดที่ถือว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นกระทำความผิดทางวินัยในฐานความผิดอื่นย่อมอยู่ในอำนาจการชี้มูลความผิดทางวินัยแก่ผู้นั้น ผู้บังคับบัญชาผู้นั้นถือเอาสำนวนนั้นลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้เลย (4) เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มาตรา 28 เพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจชี้มูลความผิดทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในทุกฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13468 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2644000958.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.