Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13469
Title: ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
Other Titles: Problem on legal measure regarding human trafficking’s victim protection
Authors: อิงครัต ดลเจิม
ศิวกร นาคบุญชัย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การค้ามนุษย์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้เสียหายจากการ ค้ามนุษย์ 2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 3) ศึกษามาตรการทางกฎหมายหรือมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ทั้งในกฎหมายของประเทศไทยและกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหพันธ์สาธารณรัฐเนปาล ตลอดจนกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 4) ศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยและกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหพันธ์สาธารณรัฐเนปาล ตลอดจนกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 5) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหามาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แนวคำวินิจฉัย คำพิพากษา แนวทางปฏิบัติของทางราชการ ตำรา บทความ และงานวิจัยทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการในการคุ้มครองเพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ผลการศึกษาพบว่า 1) การคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เป็นกรณีที่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ให้ความช่วยเหลือแล้ว กฎหมายไทยให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยแก่บุคคลที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดค้ามนุษย์เพียง 24 ชั่วโมงซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นและอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์  2) บุคคลย่อมมีสิทธิในร่างกายโดยมีแนวคิดและทฤษฎีที่ว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่ติดตัวมาแต่กำเนิด การจำกัดสิทธิเสรีภาพในเนื้อตัวร่างกายโดยมิได้มีความยินยอมของบุคคลจะกระทำมิได้ และการจำกัดสิทธิเสรีภาพในเนื้อตัวร่างกายของบุคคลต้องเป็นไปตามกฎหมายและหลักนิติธรรม และถือเป็นการจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานทางปกครองที่จะต้องให้การเยียวยาฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้เสียหายให้ได้มากที่สุด 3) กฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหพันธ์สาธารณรัฐเนปาล ต่างกำหนดระยะเวลาในการให้ความคุ้มครองเยียวยาผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ไว้มากกว่า 24 ชั่วโมง รวมถึงกำหนดมาตรการในการให้ความช่วยเหลือและเยียวยาสภาพจิตใจของผู้เสียหายไว้หลายประการ 4) เมื่อเปรียบเทียบกฎหมายไทยพบความแตกต่าง คือ กฎหมายของต่างประเทศเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ของรัฐให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหาย โดยสามารถกำหนดให้ผู้เสียหายอยู่ในความคุ้มครองของพนักงานเจ้าหน้าที่เกินกว่า 24 ชั่วโมง ทั้งมีวิธีการแก้ไขเยียวยาสภาพร่างกายและจิตใจของผู้เสียหายอย่างกว้างขวาง 5) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปรับปรุงกฎหมายโดยอาศัยวิธีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางกฎหมาย พ.ศ. 2562 เพื่อขยายระยะเวลาให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถใช้ดุลพินิจกำหนดให้ผู้เสียหายอยู่ในความคุ้มครองของพนักงานเจ้าหน้าที่ในระยะเวลาที่เหมาะสม และกรณีที่มีความจำเป็นต้องให้ความคุ้มครองเพิ่มเติม อำนาจในการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาควรเป็นอำนาจของฝ่ายปกครอง แทนการใช้อำนาจของฝ่ายตุลาการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13469
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2644001022.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.