กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13471
ชื่อเรื่อง: | Euthanasia : The appropriate form of law for Thai Society การุณยฆาต : รูปแบบกฎหมายที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | Kasemsun Wanawanakorn เกษมสันต์ วนวนากร Sartsada Wiriyanupong ศาสดา วิริยานุพงศ์ Sukhothai Thammathirat Open University Sartsada Wiriyanupong ศาสดา วิริยานุพงศ์ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | การุณยฆาต การุณยฆาตเชิงรุก การรักษาแบบประคับประคอง Euthanasia; Active Euthanasia; Palliative care |
วันที่เผยแพร่: | 28 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The objectives of this thesis are to: (1) study the concepts, theories, and principles of euthanasia and palliative care. (2) study the laws related to euthanasia in the Kingdom of the Netherlands, the Kingdom of Belgium, Oregon, the United States, and the Kingdom of Spain (3) do comparative analysis of Thai law and the laws of the Kingdom of the Netherlands, the Kingdom of Belgium, Oregon, the United States, and the Kingdom of Spain regarding euthanasia. (4) propose a "Thai Suicide Bill" that is suitable for the Thai society. This thesis is legal qualitative research using documentary research method by studying, researching, and collecting information from the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 (2017) and the relevant law, regulations, law textbooks, theses, dissertations, academic papers, journals, and related electronic media, both Thai and foreign, to analyze the guidelines or measures for the preparation of the law that needs to be enacted. The results of the study showed that: (1) euthanasia is the cause of death to alleviate the suffering from illness as an exercise of the right to determine one's own life; In Thailand, the right to refuse unwanted treatment through the National Health Act B.E. 2550 (2007) is considered a right to ask for a natural death and should be treated with palliative care first, (2) in each country where euthanasia is legalized, there has been an evolution that grants the right to end life to a population that has an indication based on the right to die with dignity. (3) the laws of all countries where euthanasia is performed provide a basis for a person with a terminal illness to make a request for termination of life. (4) Euthanasia has two forms: one where the doctor causes the patient's death and another where the doctor assists in dying for Thailand, proper euthanasia is a way for doctors to assist in death. วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักการของการทำการุณยฆาตและการดูแลรักษาแบบประคับประคอง (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำการุณยฆาตของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา และราชอาณาจักรสเปน (3) วิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา และราชอาณาจักรสเปนที่เกี่ยวข้องกับการทำการุณยฆาต (4) เสนอร่างกฎหมายการทำการุณยฆาตของประเทศไทยที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยวิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยทางนิติศาสตร์ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตำรากฎหมาย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ เอกสารทางวิชาการ วารสารและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์แนวทางหรือมาตรการในการจัดทำกฎหมายที่ต้องการให้มีขึ้นผลการศึกษาพบว่า (1) การุณยฆาตเป็นการทำให้เกิดการตายเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยเป็นการใช้สิทธิที่จะกำหนดชีวิตตนเอง ในประเทศไทยให้สิทธิในการปฏิเสธการรักษาที่ไม่ต้องการผ่านพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ถือเป็นสิทธิที่จะขอตายโดยธรรมชาติ และควรผ่านการดูแลแบบประคับประคองมาก่อน (2) ในแต่ละประเทศที่ให้ทำการุณยฆาตถูกต้องตามกฎหมาย ได้มีวิวัฒนาการที่ให้สิทธิในการยุติชีวิตกับประชากรที่มีข้อบ่งชี้โดยยึดหลักให้สิทธิการตายอย่างมีศักดิ์ศรี (3) กฎหมายของทุกประเทศที่มีการทำการุณยฆาตวางหลักให้บุคคลที่เจ็บป่วยในระยะสุดท้ายทำคำขอเพื่อการยุติชีวิตได้ การยุติชีวิตใช้รูปแบบของการุณยฆาตเชิงรุก (4) การุณยฆาตมีสองรูปแบบคือแพทย์ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตและอีกแบบคือแพทย์ทำหน้าที่ช่วยเหลือการตายสำหรับประเทศไทยการทำการุณยฆาต ที่เหมาะสมเป็นแบบที่ให้แพทย์ทำหน้าที่ในการช่วยเหลือการตาย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13471 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2644001097.pdf | 10.28 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น