Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13472
Title: | Relating a trial system to increase efficiency in criminal trials การนำระบบไต่สวนมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการพิจารณาคดีอาญา |
Authors: | KANJANA CHINPAKDEE กาญจนา ชินภักดี Punnawit Tuppawimol ปัณณวิช ทัพภวิมล Sukhothai Thammathirat Open University Punnawit Tuppawimol ปัณณวิช ทัพภวิมล [email protected] [email protected] |
Keywords: | ระบบกล่าวหา ระบบไต่สวน การพิจารณาคดีอาญา Accusation System Inquiry System Criminal trial |
Issue Date: | 10 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The purposes of this research were to study (1) the concept, theory, evolution and principles related to criminal procedure system in the trial courts (2) to study and compare laws related to criminal proceedings in trial courts in Thailand and overseas such as the French Republic and Federal Republic of Germany (3) to analyze the problems of legal measures related to the trial of criminal cases in the trial courts in Thailand and overseas (4) to suggest better options to improve laws related to the criminal procedure system in the trial courts in Thailand.This study is qualitative jurisprudential research using documentary research methods that collected from legal textbooks or documents, Supreme decisions, academic articles, journals, research papers, and Acts. The researcher synthesizes and analyzes qualitative data from the content obtained from research, documents and literature reviews to analyze and draw conclusions. The researcher also proposes appropriate legal solutions regarding the use of the inquiry system to increase the efficiency of criminal trials.The result of the study: (1) the judicial procedure in the accusation system has the concept that the parties are of equal status; The court has very little role to play in finding out the truth in the cases. It acts only as an intermediary to ensure that the prosecution is appropriate with the law. On the other hand, inquiry system, the court plays an important role in finding the truth in a casein order to get as many facts as possible. Thailand uses the accusation system in sentencing. The principle of prosecution by the state is applied by dividing the powers and duties of each organization from investigation, prosecution and adjudication to each organization by balancing the power for fairness according to the rule of law and legal state in Thai society. (2) Criminal trials in pre-trial under the laws of the French Republic and the Federal Republic of Germany have a trial judge responsible for finding out the truth by gathering evidences to be used as evidence at trial and the public prosecutor will submit an investigation statement accompanied by the indictment. However, Thai law does not have a judge who inquires the witnesses. The case in which the citizens prosecute must inquire the cause of action in every case. Cases in which the public prosecutor is the plaintiff do not need to be investigated because cases have been screened by government officials. Nevertheless, if it is deemed appropriate, judges may order an inquiry into the cause of action first. (3) In criminal proceedings in which there are a large number of documentary witnesses in the witness examination in the French Republic and the Federal Republic of Germany the judicial inquiry system is used. Judges are responsible only for finding the truth in the case by themself. The public prosecutor and lawyer only assists to the court, and a summary of the facts of the case and relevant documents are presented to the court before the appointment date. The court was informed of the defence and the examination of witnesses was completed quickly. On the other hand, In Thailand, the trial method is based on the accusation system, where the parties have equal status and have the right to fully defend the cases. (4) The trial system allows the court to play a proactive role in seeking evidence in order to obtain facts in the case that are useful for adjudication. Therefore, it is suitable for criminal trials with a large number of documentary witnesses to shorten the trial time and allow the trial to be completed quickly. As the result, this makes burdensome to the litigants including the court and fair to both parties. การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี วิวัฒนาการและหลักการที่เกี่ยวข้องกับระบบวิธีพิจารณาคดีอาญาในศาลชั้นต้น (2) ศึกษาและเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญาในชั้นพิจารณาในศาลชั้นต้นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาของมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีอาญาในศาลชั้นต้นในประเทศไทยกับต่างประเทศ (4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบวิธีพิจารณาความอาญาในศาลชั้นต้นของประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางนิติศาสตร์โดยการวิชัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยอาศัยค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือหรือเอกสารตลอดจนศึกษาตำรากฎหมาย คำพิพากษาฎีกา บทความทางวิชาการ วารสาร ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และพระราชบัญญัติ โดยผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาวิเคราะห์หาคำตอบและข้อสรุป ภายใต้หลักทฤษฎีและหลักกฎหมาย และเสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสมเกี่ยวกับการนำระบบไต่สวนมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการพิจารณาคดีอาญา ผลการศึกษาพบว่า (1) วิธีพิจารณาคดีในระบบกล่าวหามีแนวคิดว่าคู่ความมีฐานะเท่าเทียมกัน ศาลมีบทบาทในการค้นหาความจริงในคดีน้อยมาก โดยทำหน้าที่เป็นเพียงคนกลางเพื่อควบคุมให้การดำเนินคดีเป็นไปตามกฎหมาย ส่วนระบบไต่สวน ศาลมีบทบาทสำคัญในการค้นหาความจริงในคดีเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมากที่สุด ประเทศไทยใช้ระบบกล่าวหาในการพิจารณาคดี ใช้หลักการดำเนินคดีโดยรัฐ โดยแบ่งอำนาจหน้าที่แต่ละองค์กรออกจากกันตั้งแต่การสอบสวน การฟ้องคดี การพิจารณาพิพากษา เพื่อแต่ละองค์กรถ่วงดุลอำนาจกัน เพื่อความเป็นธรรมตามหลักนิติรัฐและนิติธรรม (2) การพิจารณาคดีอาญาในชั้นก่อนการพิจารณาตามกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีผู้พิพากษาไต่สวนทำหน้าที่ค้นหาความจริงในคดีโดยรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาโดยพนักงานอัยการจะส่งสำนวนการสอบสวนมาพร้อมกับฟ้อง ส่วนกฎหมายไทยไม่มี ผู้พิพากษาไต่สวน คดีราษฎรเป็นโจทก์ต้องไต่สวนมูลฟ้องทุกคดี คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องเนื่องจากผ่านการกลั่นกรองจากเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้ว แต่ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องก่อนก็ได้ (3) กระบวนวิธีพิจารณาคดีอาญาที่มีพยานเอกสารจำนวนมากในชั้นสืบพยาน ในสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีใช้ระบบไต่สวนโดยศาลเป็นผู้ทำหน้าที่ค้นหาความจริงในคดีเอง พนักงานอัยการและทนายความเป็นเพียงผู้ช่วยศาล และมีการแถลงสรุปข้อเท็จจริงในคดีและพยานเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อศาลก่อนวันนัด ทำให้ศาลทราบประเด็นข้อต่อสู้ การสืบพยานจึงเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว ส่วนในประเทศไทยใช้วิธีพิจารณาคดีในระบบกล่าวหา คู่ความมีฐานะเท่าเทียมกัน มีสิทธิต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ การสืบพยานจึงใช้เวลานานกว่าคดีอาญาทั่วไป (4) การพิจารณาคดีโดยใช้ระบบไต่สวนให้ศาลมีบทบาทเชิงรุกในการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในคดีที่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษา จึงเหมาะสมกับการพิจารณาคดีอาญาที่มีพยานเอกสารจำนวนมาก เพื่อลดระยะเวลาในการพิจารณาคดี และเพื่อให้สามารถพิจารณาคดีให้เสร็จสิ้นไปได้โดยเร็ว ทำให้ไม่เป็นภาระแก่คู่ความรวมทั้งศาล และเป็นธรรมแก่คู่ความทั้งสองฝ่าย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13472 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2644001345.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.