กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13472
ชื่อเรื่อง: การนำระบบไต่สวนมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการพิจารณาคดีอาญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relating a trial system to increase efficiency in criminal trials
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปัณณวิช ทัพภวิมล
กาญจนา ชินภักดี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
วิธีพิจารณาความอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี วิวัฒนาการและหลักการที่เกี่ยวข้องกับระบบวิธีพิจารณาคดีอาญาในศาลชั้นต้น (2) ศึกษาและเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญาในชั้นพิจารณาในศาลชั้นต้นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาของมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีอาญาในศาลชั้นต้นในประเทศไทยกับต่างประเทศ (4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบวิธีพิจารณาความอาญาในศาลชั้นต้นของประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางนิติศาสตร์โดยการวิชัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยอาศัยค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือหรือเอกสารตลอดจนศึกษาตำรากฎหมาย คำพิพากษาฎีกา บทความทางวิชาการ วารสาร ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และพระราชบัญญัติ โดยผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาวิเคราะห์หาคำตอบและข้อสรุป ภายใต้หลักทฤษฎีและหลักกฎหมาย และเสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสมเกี่ยวกับการนำระบบไต่สวนมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการพิจารณาคดีอาญา ผลการศึกษาพบว่า (1) วิธีพิจารณาคดีในระบบกล่าวหามีแนวคิดว่าคู่ความมีฐานะเท่าเทียมกัน ศาลมีบทบาทในการค้นหาความจริงในคดีน้อยมาก โดยทำหน้าที่เป็นเพียงคนกลางเพื่อควบคุมให้การดำเนินคดีเป็นไปตามกฎหมาย ส่วนระบบไต่สวน ศาลมีบทบาทสำคัญในการค้นหาความจริงในคดีเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมากที่สุด ประเทศไทยใช้ระบบกล่าวหาในการพิจารณาคดี ใช้หลักการดำเนินคดีโดยรัฐ โดยแบ่งอำนาจหน้าที่แต่ละองค์กรออกจากกันตั้งแต่การสอบสวน การฟ้องคดี การพิจารณาพิพากษา เพื่อแต่ละองค์กรถ่วงดุลอำนาจกัน เพื่อความเป็นธรรมตามหลักนิติรัฐและนิติธรรม (2) การพิจารณาคดีอาญาในชั้นก่อนการพิจารณาตามกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีผู้พิพากษาไต่สวนทำหน้าที่ค้นหาความจริงในคดีโดยรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาโดยพนักงานอัยการจะส่งสำนวนการสอบสวนมาพร้อมกับฟ้อง ส่วนกฎหมายไทยไม่มี ผู้พิพากษาไต่สวน คดีราษฎรเป็นโจทก์ต้องไต่สวนมูลฟ้องทุกคดี คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องเนื่องจากผ่านการกลั่นกรองจากเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้ว แต่ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องก่อนก็ได้ (3) กระบวนวิธีพิจารณาคดีอาญาที่มีพยานเอกสารจำนวนมากในชั้นสืบพยาน ในสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีใช้ระบบไต่สวนโดยศาลเป็นผู้ทำหน้าที่ค้นหาความจริงในคดีเอง พนักงานอัยการและทนายความเป็นเพียงผู้ช่วยศาล และมีการแถลงสรุปข้อเท็จจริงในคดีและพยานเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อศาลก่อนวันนัด ทำให้ศาลทราบประเด็นข้อต่อสู้ การสืบพยานจึงเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว ส่วนในประเทศไทยใช้วิธีพิจารณาคดีในระบบกล่าวหา คู่ความมีฐานะเท่าเทียมกัน มีสิทธิต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ การสืบพยานจึงใช้เวลานานกว่าคดีอาญาทั่วไป (4) การพิจารณาคดีโดยใช้ระบบไต่สวนให้ศาลมีบทบาทเชิงรุกในการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในคดีที่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษา จึงเหมาะสมกับการพิจารณาคดีอาญาที่มีพยานเอกสารจำนวนมาก เพื่อลดระยะเวลาในการพิจารณาคดี และเพื่อให้สามารถพิจารณาคดีให้เสร็จสิ้นไปได้โดยเร็ว ทำให้ไม่เป็นภาระแก่คู่ความรวมทั้งศาล และเป็นธรรมแก่คู่ความทั้งสองฝ่าย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13472
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2644001345.pdf1.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น