กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13474
ชื่อเรื่อง: | Law Enforcement in Criminal Case Study : Use of Investigative Powers and Prosecution of Officials การบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา ศึกษากรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของเจ้าพนักงาน |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | SAKMONGKOL EUARKANIT ศักดิ์มงคล เอื้อคณิต Punnawit Tuppawimol ปัณณวิช ทัพภวิมล Sukhothai Thammathirat Open University Punnawit Tuppawimol ปัณณวิช ทัพภวิมล [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | การใช้อำนาจ การสอบสวน การดำเนินคดีอาญา Exercise of power Investigation Criminal prosecution |
วันที่เผยแพร่: | 5 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | This independent study aims to (1) Study the concepts, theories, and background of problems related to the enforcement of criminal law, specifically focusing on the use of powers of investigation and prosecution by officials. (2) Compare the enforcement of criminal law regarding the use of investigative and prosecutorial powers by officials in Thailand with those in the United States, Federal Republic of Germany, and French Republic. (3) cases concerning the enforcement of criminal laws related to the use of investigative and prosecutorial powers by officials. (4) propose recommendations for improving and amending the Criminal Procedure Code cases of the use of powers of investigation and prosecution by officials.This independent study employs a qualitative research methodology in legal studies. It involves document analysis of legal documents pertinent to the enforcement of criminal laws, examining instances of abuse of investigative and prosecutorial powers by officials through legal provisions, statutes, regulations, textbooks, academic articles, research works, court judgments, and foreign laws. The researcher synthesizes and analyzes content obtained from document research to provide guidance for further amendments and improvements to Criminal Procedure Laws.The study findings revealed that (1) Thailand's current criminal investigation laws use a system that allows auditing to verify claims in criminal cases, ensuring transparency from the investigation phase through to the final verdict. The involvement of officials is crucial in this process to verify facts for further consideration in the case. (2) Law enforcement in Thai criminal cases has limited the scope of officials' investigative powers, resulting in complex and lengthy litigation stages. In contrast, the United States, Federal Republic of Germany, and French Republic have established broader investigative powers, facilitating expedited litigation. (3) In criminal cases, investigations conducted by officials lacking authority in the locality where the offense occurred are deemed unlawful. Such situations lead to delays and unfairness in the prosecution of accused individuals or defendants. (4) The Criminal Procedure Code should be amended. Cases of the use of authority by officials in conducting investigations in various areas to be widely possible to prevent the rights and freedoms of the people who are victims from being affected accused and witnesses in criminal cases. การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี ความเป็นมาของปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา กรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของเจ้าพนักงาน (2) ศึกษาเปรียบเทียบการบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา กรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศส (3) วิเคราะห์ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา กรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของเจ้าพนักงาน (4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา กรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา ศึกษากรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดี ของเจ้าพนักงาน ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย คำพิพากษาของศาล และกฎหมายต่างประเทศ โดยผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ผลการศึกษาพบว่า (1) การบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญาของประเทศไทยในปัจจุบันใช้ระบบกล่าวหา ซึ่งรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาไว้ โดยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด การสอบสวนเบื้องต้นของเจ้าพนักงาน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิจารณาว่าข้อกล่าวหานั้นมีมูลหรือไม่เพียงใด ก่อนเสนอพนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ถูกกล่าวหานั้นต่อศาลเพื่อพิจารณาคดีต่อไป (2) การบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญาของประเทศไทยได้กำหนดขอบเขตอำนาจการสอบสวนของเจ้าพนักงานไว้อย่างจำกัด การดำเนินคดีแต่ละขั้นตอนจึงมีความซับซ้อนและยาวนาน ซึ่งแตกต่างกับสหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้กำหนดขอบเขตอำนาจการสืบสวนสอบสวนไว้อย่างกว้างขวาง เพื่อให้ได้มาซึ่งการดำเนินคดีที่ง่ายและรวดเร็ว (3) ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา พบว่าหากการสอบสวนเกิดขึ้นโดยพนักงานสอบสวนที่ไม่มีอำนาจในท้องที่ที่พบการกระทำผิด จะมีผลให้การสอบสวนนั้นเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เกิดความล่าช้าและความไม่เป็นธรรมในการต่อสู้คดีของผู้ต้องหาหรือจำเลย (4) ควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กรณีการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานในการสอบสวนในเขตพื้นที่ต่างๆ ให้เป็นไปได้อย่างกว้างขวาง เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ตกเป็นผู้เสียหาย ผู้ถูกกล่าวหา และพยานในคดีอาญา |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13474 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2644001444.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น