Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13474
Title: | การบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา ศึกษากรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของเจ้าพนักงาน |
Other Titles: | Law enforcement in criminal case study : use of investigative powers and prosecution of officials |
Authors: | ปัณณวิช ทัพภวิมล ศักดิ์มงคล เอื้อคณิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การบังคับใช้กฎหมาย กระบวนการยุติธรรมทางอาญา การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี ความเป็นมาของปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา กรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของเจ้าพนักงาน (2) ศึกษาเปรียบเทียบการบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา กรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศส (3) วิเคราะห์ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา กรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของเจ้าพนักงาน (4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา กรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา ศึกษากรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดี ของเจ้าพนักงาน ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย คำพิพากษาของศาล และกฎหมายต่างประเทศ โดยผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ผลการศึกษาพบว่า (1) การบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญาของประเทศไทยในปัจจุบันใช้ระบบกล่าวหา ซึ่งรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาไว้ โดยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด การสอบสวนเบื้องต้นของเจ้าพนักงาน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิจารณาว่าข้อกล่าวหานั้นมีมูลหรือไม่เพียงใด ก่อนเสนอพนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ถูกกล่าวหานั้นต่อศาลเพื่อพิจารณาคดีต่อไป (2) การบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญาของประเทศไทยได้กำหนดขอบเขตอำนาจการสอบสวนของเจ้าพนักงานไว้อย่างจำกัด การดำเนินคดีแต่ละขั้นตอนจึงมีความซับซ้อนและยาวนาน ซึ่งแตกต่างกับสหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้กำหนดขอบเขตอำนาจการสืบสวนสอบสวนไว้อย่างกว้างขวาง เพื่อให้ได้มาซึ่งการดำเนินคดีที่ง่ายและรวดเร็ว (3) ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา พบว่าหากการสอบสวนเกิดขึ้นโดยพนักงานสอบสวนที่ไม่มีอำนาจในท้องที่ที่พบการกระทำผิด จะมีผลให้การสอบสวนนั้นเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เกิดความล่าช้าและความไม่เป็นธรรมในการต่อสู้คดีของผู้ต้องหาหรือจำเลย (4) ควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กรณีการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานในการสอบสวนในเขตพื้นที่ต่างๆ ให้เป็นไปได้อย่างกว้างขวาง เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ตกเป็นผู้เสียหาย ผู้ถูกกล่าวหา และพยานในคดีอาญา |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13474 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2644001444.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.