Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13475
Title: ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพนักงานอัยการในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499
Other Titles: Problems with prosecutors in implementation of the act on the Establishment of District Courts and Criminal Procedure in District Courts B.E. 2499
Authors: ปัณณวิช ทัพภวิมล
พสิษฐ์ อันทรินทร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วรรณวิภา เมืองถ้ำ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความเป็นมาที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาในศาลแขวงของพนักงานอัยการ (2) ศึกษาและเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาในศาลแขวงของพนักงานอัยการของประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาในศาลแขวงของพนักงานอัยการของประเทศไทย และพนักงานอัยการของต่างประเทศ (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาในศาลแขวงของพนักงานอัยการของประเทศไทยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสาร จากหลายแหล่งทั้งรูปแบบกระดาษ/ออนไลน์ รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมทั้งตำราวิชาการทางกฎหมาย บทความวิชาการ บทความวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ รายงานวิจัย คำพิพากษาฎีกา ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาข้อกฎหมายจนนำไปสู่การจัดทำเป็นแนวทางแก้ไขกฎหมายการดำเนินคดีอาญาในศาลแขวงของพนักงานอัยการผลการวิจัยพบว่า (1) การดำเนินคดีอาญาในศาลแขวงของพนักงานอัยการ เป็นไปตามแนวคิด และหลักการจัดตั้งศาลแขวงที่จะต้องให้มีการพิจารณาคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว (2) พนักงานอัยการของประเทศไทยไม่มีอำนาจเข้าทำการสอบสวน ในทางตรงกันข้ามต่างประเทศพนักงานอัยการมีอำนาจเข้าทำการสอบสวนได้ (3) การดำเนินคดีอาญาในศาลแขวงของพนักงานอัยการของประเทศไทยมีความล่าช้าในชั้นของพนักงานสอบสวนในการส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการ ทำให้เกิดความล่าช้าในการพิจารณาอนุญาตฟ้องผู้ต้องหาตามมา และยังมีปัญหาในการยื่นคำร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ทัน ซึ่งในต่างประเทศไม่มีปัญหาดังกล่าวเพราะพนักงานอัยการได้เข้าร่วมสอบสวนตั้งแต่ต้น (4) เสนอแนะให้แก้ไขกฎหมายโดยกำหนดระยะเวลาในการส่งสำนวนการสอบสวนให้ชัดเจน ให้อธิบดีอัยการภาค 1-9 และอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลแขวง มีอำนาจในการอนุญาตให้ฟ้องผู้ต้องหาแทนอัยการสูงสุด พร้อมกำหนดระยะเวลาในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตภายในกำหนด 1 เดือน และให้พนักงานสอบสวนแจ้งสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 แก่ผู้เสียหายก่อนส่งสำนวนมายังพนักงานอัยการ
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13475
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2644001469.pdf4.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.