กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13477
ชื่อเรื่อง: | ปัญหามาตรการบังคับใช้กฎหมายของกรมสอบสวนคดีพิเศษในคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problem of law enforcement measures of the Department of Special Investigation in criminal offenses under the Foreign Business Act |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพัตรา แผนวิชิต สุกุลยา คำเพ็ง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี ธุรกิจของคนต่างด้าว--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมาตรการบังคับใช้กฎหมายของกรมสอบสวนคดีพิเศษในคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่นและประเทศสิงคโปร์ และกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับมาตรการดังกล่าว (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับมาตรการบังคับใช้กฎหมายของกรมสอบสวนคดีพิเศษในคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (4) เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหามาตรการบังคับใช้กฎหมายของกรมสอบสวนคดีพิเศษในคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเอกสารโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งจะศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตำรา รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสารมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหามาตรการบังคับใช้กฎหมายของกรมสอบสวนคดีพิเศษในคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เช่น ทฤษฎีสมมติ ทฤษฎีองคาพยพ ทฤษฎีการลงโทษเพื่อการข่มขู่ยับยั้ง ทฤษฎีฮีโดนิซึม ทฤษฎีแก้แค้นทดแทน (2) กฎหมายของสหรัฐอเมริกาและประเทศสิงคโปร์ ไม่มีคำนิยามของคำว่า คนต่างด้าว และจำกัดการลงทุนของคนต่างด้าวไว้เฉพาะธุรกิจที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงเท่านั้น ส่วนประเทศญี่ปุ่นได้กำหนดให้คนต่างด้าวถือหุ้นออกเสียงได้รวมแล้วตั้งแต่ร้อยละ 50 จะถือว่าเป็นนักลงทุนต่างด้าว สหรัฐอเมริกาใช้ระบบโทษปรับโดยคำนึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจของผู้กระทำความผิด (3) ความเป็นคนต่างด้าวคำนวณด้วยสัดส่วนการถือหุ้นในประเทศไทย และมีหลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องการประกอบธุรกิจที่ไม่ชัดเจนอีกทั้งมีการกำหนดโทษปรับแบบตายตัว (4) สมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวของไทยโดยให้พิจารณาความเป็นคนต่างด้าวโดยคำนึงถึงสิทธิในการออกเสียงของผู้ถือหุ้นด้วย และกำหนดให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจเทียบเท่าเจ้าพนักงานตามกฎหมายอื่นด้วย และควรเพิ่มเติมโทษจำคุกและแก้ไขโทษปรับโดยคำนึงถึงความร้ายแรงของการกระทำความผิดและฐานะทางเศรษฐกิจของผู้กระทำความผิดด้วย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13477 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2644001659.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น