Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13478
Title: | ปัญหาการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องคำสั่งตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง |
Other Titles: | Issues related to the rights and liberties of ex-convicts under preventive measures for recidivism in sexual or violent offenses |
Authors: | อิงครัต ดลเจิม วสันต์ สุกิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การกระทำผิดซ้ำ อาชญากรรมทางเพศ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงความเป็นมา สภาพของปัญหาเกี่ยวกับการกระทำความผิดซ้ำและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง (2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการลงโทษทางอาญาและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดซ้ำ (3) ศึกษาบทบัญญัติทางกฎหมายอันเกี่ยวกับการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรงของกฎหมายไทยและกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และเครือรัฐออสเตรเลีย (4) วิเคราะห์และเปรียบเทียบบทบัญญัติทางกฎหมายตามกรณีปัญหาของกฎหมายไทยและหลักดังกล่าวในต่างประเทศ โดยเปรียบเทียบกับกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และเครือรัฐออสเตรเลีย (5) เสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติทางกฎหมาย เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 ของราชอาณาจักรไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากเอกสารที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หนังสือ ตำรากฎหมาย ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ วารสารวิชาการ บทความทางวิชาการ ตลอดจนแนวคำพิพากษาของศาล รวมถึงการหาข้อมูลทางเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ รวมถึงค้นคว้าจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องคำสั่งตามกรณีปัญหาผลการศึกษา พบว่า (1)ปัญหาการกระทำความผิดซ้ำเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยครั้ง แต่การกระทำผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง หากเกิดขึ้นแล้วก่อผลเสียหายร้ายแรงและสร้างผลกระทบเป็นอย่างมาก (2)ราชอาณาจักรไทยจึงต้องบังคับใช้มาตรการป้องกันกรณีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม (3)กฎหมายฉบับนี้ ยังมีความคลุมเครือเกี่ยวกับมาตรฐานหรือกรอบในการกำหนดดุลยพินิจของผู้ออกคำสั่งตามมาตรการ การขาดบทบัญญัติในการรับรองสิทธิของผู้ต้องคำสั่ง รวมถึงการขาดคำนิยาม การกำหนดขอบเขตการบังคับใช้การคุมขังฉุกเฉิน อันอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องคำสั่งเกินสมควร (4)มาตรการดังกล่าวในสาธารณรัฐฝรั่งเศส เครือรัฐออสเตรเลีย ได้กำหนดกรอบดุลยพินิจของศาลในการออกคำสั่งคุมขังภายหลังพ้นโทษและการคุมขังฉุกเฉินไว้ นอกจากนี้ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนียังได้กำหนดหลักอันเป็นพื้นฐานใน การรับรองสิทธิของผู้ต้องคำสั่งอย่างชัดเจน(5)เพื่อการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องคำสั่งให้ดีขึ้น ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้มีการกำหนดกรอบดุลยพินิจในการออกคำสั่งตามมาตรการ การบัญญัติรับรองสิทธิของผู้ต้องคำสั่ง และกำหนดนิยาม ขอบเขตการบังคับใช้การคุมขังฉุกเฉิน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13478 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2644001675.pdf | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.