Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13482
Title: | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 |
Other Titles: | Legal issues concerning the criteria for filing a lawsuit for compensation for unfair dismissal under the Act on the Establishment of and Procedure for Labor Court Act B.E. 2522 (1979) |
Authors: | วราภรณ์ วนาพิทักษ์ พงศพล กีรติโสภา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี ลูกจ้าง--การเลิกจ้าง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 (2) ศึกษากฎหมายไทยและเปรียบเทียบกับกฎหมายของสหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 (3) วิเคราะห์ประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขในเรื่องการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 (4) เสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพวิธีวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากกฎหมาย รวมถึงกฎ ระเบียบ หนังสือของหน่วยงานรัฐ บทความ วารสาร วิทยานิพนธ์ ของประเทศไทย สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์จากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการกำหนดหลักเกณฑ์การฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับความมั่นคงในการทำงาน แนวคิดเกี่ยวกับแรงงานเป็นทรัพย์สิน แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารบุคคล แนวคิดของการประกันความเสี่ยงในการทำงาน มาตรการในการคุ้มครองลูกจ้างในกรณีเลิกจ้าง แนวคิดในเรื่องค่าเสียหายเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานและแนวคิดเกี่ยวกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (2) ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ได้แก่ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ส่วนกฎหมายต่างประเทศ กฎหมายสหราชอาณาจักร ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ค.ศ. 1996 และกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้แก่ ประมวลกฎหมายแรงงานสาธารณรัฐฝรั่งเศส (3) กฎหมายของประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (4) ประเทศไทยควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้ชัดเจนลงในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 เพื่อให้เกิดความเสมอภาคระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่ได้รับความเสียหาย และเป็นบรรทัดฐานในการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเป็นธรรมต่อไปในอนาคต |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13482 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2654000336.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.