กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13483
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติในการชี้มูลความผิดทางวินัยข้าราชการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems related to power of The National Anti-Corruption Commission in the Case of Ground Disciplinary Offences of Civil Servants |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณวิภา เมืองถ้ำ ญาณินี ศรีสุวรรณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี คณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติ ข้าราชการพลเรือน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการ (2) ศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินการเกี่ยวกับความผิดทางวินัยข้าราชการตามกฎหมายประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศอังกฤษ (3) ศึกษาวิเคราะห์การดำเนินการเกี่ยวกับการชี้มูลความผิดทางวินัยข้าราชการตามกฎหมายประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศอังกฤษ และ (4) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการลงโทษทางวินัยข้าราชการให้มีความเหมาะสมต่อไปการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎหมายประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศอังกฤษ ตำรากฎหมาย บทความทางวิชการ วิทยานิพนธ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนแนวคำพิพากษาที่เกี่ยวข้องผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดและหลักการที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม หลักความเสมอภาค และหลักความชอบด้วยกฎหมาย (2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 กำหนดอำนาจหน้าที่หลักของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการไต่สวนและวินิจฉัยกรณีที่เจ้าพนักงานของรัฐกระทำความผิดอันเป็นฐานทุจริตเป็นหลัก แต่หากเป็นการชี้มูลความผิดทางวินัยที่ไม่ใช่เกิดจากฐานทุจริตยังไม่มีความชัดเจน อย่างไรก็ตาม การดำเนินการทางวินัยข้าราชการมีกฎหมายกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนอีกด้วย (3) จากการศึกษาแนวคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจในการไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลความผิดทางวินัยเฉพาะความผิดฐานทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่วนความผิดทางวินัยที่เกิดจากความผิดฐานอื่น นั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่มีอำนาจที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลความผิดวินัย อีกทั้ง เมื่อเปรียบเทียบกฎหมายในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและประเทศอังกฤษต่างก็มีกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐในการพิจารณาโทษทางวินัยข้าราชการเพียงฉบับเดียว (4) เห็นควรแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 91 (2) และมาตรา 98 วรรคแรก เกี่ยวกับอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการชี้มูลความผิดวินัยข้าราชการให้มีความชัดเจนและเหมาะสม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13483 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2654000427.pdf | 941.18 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น