กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13485
ชื่อเรื่อง: | Legal Problems Related to Overlapping Proceedings of the National Anti-Corruption Commission and Government Agencies regarding Financial Corruption Disputes of Government Officials ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการทับซ้อนในกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริตทางการเงินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | KANOKWAN SODSAI กนกวรรณ สดใส kristhyada KerdLarpphon กฤติญดา เกิดลาภผล Sukhothai Thammathirat Open University kristhyada KerdLarpphon กฤติญดา เกิดลาภผล [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | การทุจริตเงิน ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ สำนักงาน ป.ป.ช. Financial Corruption Tortious liability of officials the National Anti-Corruption Commission |
วันที่เผยแพร่: | 12 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The objective of this research are: 1) to examine principles, concepts, theories, and foreign laws related to the investigation process of Legal Problems Related to Overlapping Proceedings of the National Anti-Corruption Commission and Government Agencies regarding Financial Corruption Disputes of Government Officials; 2) to review Thai laws relevant to Legal Problems Related to Overlapping Proceedings of the National Anti-Corruption Commission and Government Agencies regarding Financial Corruption Disputes of Government Officials; 3) to analyze legal issues regarding Legal Problems Related to Overlapping Proceedings of the National Anti-Corruption Commission and Government Agencies regarding Financial Corruption Disputes of Government Officials; and 4) to propose legal measures to resolve the issue of Legal Problems Related to Overlapping Proceedings of the National Anti-Corruption Commission and Government Agencies regarding Financial Corruption Disputes of Government Officials.This independent study is a qualitative research project primarily utilizing document-based research methods. It involves a comparative study of legal texts, articles, research papers, and other documents including the Republic of Germany and the French Republic law. The aim is to analyze legal issues related to overlaps in the review processes of Legal Problems Related to Overlapping Proceedings of the National Anti-Corruption Commission and Government Agencies regarding Financial Corruption Disputes of Government Officials. Furthermore, the study seeks to propose solutions to address these overlaps in the review processes, aiming to improve the suitability and effectiveness of Legal Problems Related to Overlapping Proceedings of the National Anti-Corruption Commission and Government Agencies regarding Financial Corruption Disputes of Government Officials.The findings reveal that: 1) Key principles applied in the review processes of Legal Problems Related to Overlapping Proceedings of the National Anti-Corruption Commission and Government Agencies regarding Financial Corruption Disputes of Government Officials disputes involving government officials include the principles of administrative action and official tort liability; 2) Thai laws related to the review processes of the Legal Problems Related to Overlapping Proceedings of the National Anti-Corruption Commission and Government Agencies regarding Financial Corruption Disputes of Government Officials consist of the Law on Official Tort Liability and the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561 (2018); 3) When the National Anti-Corruption Commission reaches a resolution to pursue criminal charges and refers the case to the Office of the Attorney General for prosecution, the relevant state agency also proceeds under the Law on Official Tort Liability B.E. 2539 (1996). Although, both processes proceed in parallel and their outcomes may differ in timing. Currently, there are no laws addressing overlaps between these two processes; and 4) To address these shortcomings, it is recommended to amend Section 14, paragraph two, to allow the Ministry of Finance to proceed without waiting for the court's verdict and Section 14, paragraph three, to ensure that if the review outcomes differ, the court's verdict shall be final. These amendments would enhance clarity and improve procedural efficiency. การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริตทางการเงินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 2) ศึกษากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริตทางการเงินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการทับซ้อนในกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริต ทางการเงินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 4) เสนอแนะมาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการทับซ้อนในกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริต ทางการเงินของเจ้าหน้าที่ของรัฐการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารเป็นหลัก โดยศึกษาเปรียบเทียบตัวบทกฎหมาย บทความ งานวิจัย และเอกสารอื่น ๆ รวมถึงศึกษากฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการทับซ้อนในกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติและหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริตทางการเงินของเจ้าหน้าที่ของรัฐและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการทับซ้อนในกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริตทางการเงินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้มีความเหมาะสมต่อไป ผลการศึกษา พบว่า 1) หลักการถูกนำมาใช้กับกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริตทางการเงินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่สำคัญคือหลักการกระทำทางปกครองและหลักความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2) กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริตทางการเงิน ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประกอบด้วยกฎหมายว่าความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 3) เมื่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติชี้มูลความผิดทางอาญาต่อสำนักงานอัยการสูงสุด และดำเนินการฟ้องคดีต่อศาล และหน่วยงานของรัฐก็ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โดยทั้งสองกระบวนการดำเนินการไปพร้อมกันแต่พิจารณาผลอาจจะไม่พร้อมกัน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการทับซ้อนของทั้งสองหน่วยงานดังกล่าว 4) ควรมีการบัญญัติกฎหมาย เพิ่มเติม ในมาตรา 14 วรรคสอง เกี่ยวกับการที่กระทรวงการคลังไม่ต้องรอผลการพิจารณาของศาล และมาตรา 14 วรรคสาม เกี่ยวกับการที่หากผลการพิจารณามีความแตกต่างกัน ให้ถือคำพิพากษาของศาลเป็นที่สุดเพื่อแก้ไขความบกพร่องให้เกิดความชัดเจนและมีประสิทธิภาพ ที่ดียิ่งขึ้นต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13485 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2654000450.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น