Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13485
Title: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการทับซ้อนในกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริตทางการเงินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ |
Other Titles: | Legal problems related to overlapping proceedings of the National Anti-Corruption Commission and Government Agencies regarding financial corruption disputes of government officials |
Authors: | กฤติญดา เกิดลาภผล กนกวรรณ สดใส มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริตทางการเงินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 2) ศึกษากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริตทางการเงินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการทับซ้อนในกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริต ทางการเงินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 4) เสนอแนะมาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการทับซ้อนในกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริต ทางการเงินของเจ้าหน้าที่ของรัฐการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารเป็นหลัก โดยศึกษาเปรียบเทียบตัวบทกฎหมาย บทความ งานวิจัย และเอกสารอื่น ๆ รวมถึงศึกษากฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการทับซ้อนในกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติและหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริตทางการเงินของเจ้าหน้าที่ของรัฐและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการทับซ้อนในกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริตทางการเงินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้มีความเหมาะสมต่อไป ผลการศึกษา พบว่า 1) หลักการถูกนำมาใช้กับกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริตทางการเงินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่สำคัญคือหลักการกระทำทางปกครองและหลักความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2) กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและหน่วยงานของรัฐ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการทุจริตทางการเงิน ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประกอบด้วยกฎหมายว่าความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 3) เมื่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติชี้มูลความผิดทางอาญาต่อสำนักงานอัยการสูงสุด และดำเนินการฟ้องคดีต่อศาล และหน่วยงานของรัฐก็ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โดยทั้งสองกระบวนการดำเนินการไปพร้อมกันแต่พิจารณาผลอาจจะไม่พร้อมกัน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการทับซ้อนของทั้งสองหน่วยงานดังกล่าว 4) ควรมีการบัญญัติกฎหมาย เพิ่มเติม ในมาตรา 14 วรรคสอง เกี่ยวกับการที่กระทรวงการคลังไม่ต้องรอผลการพิจารณาของศาล และมาตรา 14 วรรคสาม เกี่ยวกับการที่หากผลการพิจารณามีความแตกต่างกัน ให้ถือคำพิพากษาของศาลเป็นที่สุดเพื่อแก้ไขความบกพร่องให้เกิดความชัดเจนและมีประสิทธิภาพ ที่ดียิ่งขึ้นต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13485 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2654000450.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.