Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13486
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorBHISANU CHOMNGAMen
dc.contributorพิษณุ โฉมงามth
dc.contributor.advisorSupatra Phanwichiten
dc.contributor.advisorสุพัตรา แผนวิชิตth
dc.contributor.otherSukhothai Thammathirat Open Universityen
dc.date.accessioned2025-01-24T08:47:47Z-
dc.date.available2025-01-24T08:47:47Z-
dc.date.created2024
dc.date.issued8/10/2024
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13486-
dc.description.abstractThis independent study aims to (1) study the concepts, theories, evolution and principles of filling gaps in the law, as well as the differences between the juristic methods of private law and public law, (2) study and compare the laws of the French Republic, the Federal Republic of Germany and Thailand regarding filling gaps in administrative procedural law. (3) analyze the problems and obstacles arising from filling the gaps in the administrative procedural laws of Thailand. and (4) propose ways to improve the process of filling gaps in the administrative procedural laws of Thailand.This independent study uses a qualitative research method, relying on documentary research. The study involves researching data from legal textbooks, rules, theses, articles, journals, printed media, and court judgments to use the information found as a guideline for analyzing problems and finding ways to further improve the relevant law.The finding reveal that (1) The principles of fairness and the rule of law are the foundation for filling the gaps in the law, The juristic methods of private law and public law are similar, sharing the same basic principles, but the unique characteristics of each type of law must be taken into account. (2) the French Republic has no specific laws to address how to fill gaps in administrative procedural law ,while the Federal Republic of Germany has laws that provide methods for filing such gap (3) the use of general legal principles present several issues, including the ambiguity in distinguishing  legal interpretation from filling gaps in the law, the impact on the principle of separation of powers , difficulties in identifying general legal principles, and challenges regarding the status of general legal principle, and (4) It is recommended that laws be enacted to specify methods for filling gap in the law, using civil procedure law in case where administrative procedure law does not specific guidance.en
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีวิวัฒนาการและหลักการของการการอุดช่องว่างของกฎหมายความแตกต่างระหว่างนิติวิธีของกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและประเทศไทยเกี่ยวกับการอุดช่องว่างของกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครอง (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการอุดช่องว่างของกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองของประเทศไทย (4) เสนอแนวทางปรับปรุงการอุดช่องว่างของกฎหมายในวิธีพิจารณาคดีปกครองของประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่เป็นตำรา กฎหมาย ระเบียบ วิทยานิพนธ์ บทความ วารสารสื่อสิ่งพิมพ์ คำพิพากษาของศาล เพื่อนำข้อมูลที่ค้นพบมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปผลการศึกษาพบว่า (1) หลักความเป็นธรรมและนิติรัฐเป็นที่มาของการอุดช่องว่างของกฎหมาย นิติวิธีของกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนมีความคล้ายคลึงกันโดยมีข้อความคิดพื้นฐานทางนิติวิธีทั่วไปเช่นเดียวกันเพียงแต่จะต้องคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของกฎหมายแต่ละประเภทประกอบด้วย (2) สาธารณรัฐฝรั่งเศสไม่มีกฎหมายกำหนดวิธีในการอุดช่องว่างของกฎหมาย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองเพื่อใช้สำหรับการอุดช่องว่างของกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครอง (3) การใช้หลักกฎหมายทั่วไปมีปัญหาดังนี้ ปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชัดเจนเกี่ยวในการแบ่งแยกการตีความและการอุดช่องว่างของกฎหมาย ปัญหาผลกระทบต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ ปัญหาในการค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปและปัญหาสถานะของหลักกฎหมายทั่วไป (4) เสนอแนะให้ตรากฎหมายเพื่อกำหนดวิธีการอุดช่องว่างของกฎหมายโดยนำกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในกรณีที่กฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองมิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะth
dc.language.isoth
dc.publisherSukhothai Thammathirat Open University
dc.rightsSukhothai Thammathirat Open University
dc.subjectการอุดช่องว่างของกฎหมาย กฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองth
dc.subjectFilling gaps in the lawen
dc.subjectAdministrative Procedure Lawen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationPublic administration and defence; compulsory social securityen
dc.subject.classificationPolitical science and civicsen
dc.titleFilling gaps in the law for the administrative procedure in Thailanden
dc.titleการอุดช่องว่างของกฎหมายในวิธีพิจารณาคดีปกครองของประเทศไทยth
dc.typeIndependent Studyen
dc.typeการศึกษาค้นคว้าอิสระth
dc.contributor.coadvisorSupatra Phanwichiten
dc.contributor.coadvisorสุพัตรา แผนวิชิตth
dc.contributor.emailadvisor[email protected]
dc.contributor.emailcoadvisor[email protected]
dc.description.degreenameMaster of Laws in Public Law (LL.M.)en
dc.description.degreenameนิติศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกกฎหมายมหาชน (น.ม.)th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreedisciplineMaster of Lawsen
dc.description.degreedisciplineนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2654000492.pdf697.84 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.