กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13486
ชื่อเรื่อง: | การอุดช่องว่างของกฎหมายในวิธีพิจารณาคดีปกครองของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Filling gaps in the law for the administrative procedure in Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพัตรา แผนวิชิต พิษณุ โฉมงาม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี วิธีพิจารณาคดีปกครอง--ไทย กฎหมาย--การตีความ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีวิวัฒนาการและหลักการของการการอุดช่องว่างของกฎหมายความแตกต่างระหว่างนิติวิธีของกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและประเทศไทยเกี่ยวกับการอุดช่องว่างของกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครอง (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการอุดช่องว่างของกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองของประเทศไทย (4) เสนอแนวทางปรับปรุงการอุดช่องว่างของกฎหมายในวิธีพิจารณาคดีปกครองของประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่เป็นตำรา กฎหมาย ระเบียบ วิทยานิพนธ์ บทความ วารสารสื่อสิ่งพิมพ์ คำพิพากษาของศาล เพื่อนำข้อมูลที่ค้นพบมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปผลการศึกษาพบว่า (1) หลักความเป็นธรรมและนิติรัฐเป็นที่มาของการอุดช่องว่างของกฎหมาย นิติวิธีของกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนมีความคล้ายคลึงกันโดยมีข้อความคิดพื้นฐานทางนิติวิธีทั่วไปเช่นเดียวกันเพียงแต่จะต้องคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของกฎหมายแต่ละประเภทประกอบด้วย (2) สาธารณรัฐฝรั่งเศสไม่มีกฎหมายกำหนดวิธีในการอุดช่องว่างของกฎหมาย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองเพื่อใช้สำหรับการอุดช่องว่างของกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครอง (3) การใช้หลักกฎหมายทั่วไปมีปัญหาดังนี้ ปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชัดเจนเกี่ยวในการแบ่งแยกการตีความและการอุดช่องว่างของกฎหมาย ปัญหาผลกระทบต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ ปัญหาในการค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปและปัญหาสถานะของหลักกฎหมายทั่วไป (4) เสนอแนะให้ตรากฎหมายเพื่อกำหนดวิธีการอุดช่องว่างของกฎหมายโดยนำกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในกรณีที่กฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองมิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13486 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2654000492.pdf | 697.84 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น