กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13492
ชื่อเรื่อง: | The Legal Issues Concerning Pre - Election Voting Rights under the Organic Act on the Election of Members of the House of Representatives, B.E. 2561 (2018) ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ARTHIT DEEMEE อาทิตย์ ดีมี Supatra Phanwichit สุพัตรา แผนวิชิต Sukhothai Thammathirat Open University Supatra Phanwichit สุพัตรา แผนวิชิต [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง วันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง Pre-election Voting Rights Voter Eligibility Election Voting Day |
วันที่เผยแพร่: | 30 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | This independent study aims to: (1) examine the concepts, theories, and principles underlying pre-election voting rights; (2) conduct a comparative analysis of the principles and practices of pre-election voting in New Zealand, the Commonwealth of Australia, and Thailand; (3) analyze the challenges associated with the exercise of pre-election voting rights; and (4) propose recommendations for improving the legal framework governing pre-election voting in Thailand.This study employs a qualitative legal research methodology, focusing on the analysis of legal documents related to pre-election voting, including the Constitution of the Kingdom of Thailand, statutory laws, regulations, textbooks, academic articles, research papers, and election statistics, as well as the electoral laws of New Zealand and the Commonwealth of Australia. The researcher synthesizes and qualitatively analyzes data derived from these sources, using the findings to propose recommendations for the enhancement and reform of Thailand's pre-election voting legislation.The findings reveal that: (1) The principle of popular sovereignty highlights issues with the current restrictions on voting rights. Voters who are unable to vote on election day, such as those who are ill, disabled, or otherwise incapacitated, must seek approval from authorities to vote in advance. This requirement conflicts with the principles of popular sovereignty, equality, and freedom. The theoretical perspectives of Sieyès, who views voting as a duty, and Rousseau, who sees it as a right, highlight the tension between these roles. Thailand’s single-day voting system imposes constraints on certain groups. (2) In contrast, the laws of New Zealand and Australia include provisions allowing eligible voters who cannot vote on election day to register for pre-election voting without requiring official approval and provide several days for pre-election voting. Thai law, however, requires voters to justify their inability to vote on election day and obtain official approval before registering for pre-election voting, which is limited to only one day. (3) The issue with pre-election voting under Thai law lies in the requirement that eligible voters, unable to vote on election day, must obtain approval from authorities, with only one day allocated for pre-election voting. This imposes significant constraints and additional burdens on voters with mobility or work limitations, which undermines the accurate representation of the public will. Such restrictions conflict with the principles of equality and popular sovereignty. Sieyès’ theory views voting as a duty, while Rousseau sees it as a right. The limitation to a single voting day and the requirement for prior approval constrain voters' freedom and equality. In contrast, New Zealand and the Commonwealth of Australia employ more flexible systems, allowing eligible voters to cast their votes in advance without requiring approval, with multiple days available for voting. Amending Thai law to align with the practices of New Zealand and Australia could enhance voter equality and better reflect the public will. (4) It is recommended that the qualifications for pre-election voting be incorporated into statutory law, allowing voters to register directly without requiring official approval, and that the duration of pre-election voting be extended to multiple days to better facilitate the exercise of voting rights for citizens across all professions. การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวความคิด ทฤษฎี หลักการของการใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง (2) ศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับหลักการ การใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งในประเทศนิวซีแลนด์ เครือรัฐออสเตรเลีย และประเทศไทย (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง (4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งของประเทศไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ ตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย สถิติการเลือกตั้ง กฎหมายเลือกตั้งของประเทศนิวซีแลนด์ เครือรัฐออสเตรเลีย โดยผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเสนอแนะการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งผลการศึกษาพบว่า (1) ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยของประชาชนทำให้เห็นถึงปัญหาของการจำกัดสิทธิการเลือกตั้ง โดยที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่อาจไปเลือกตั้งได้ เช่น เจ็บป่วย คนพิการ ทุพพลภาพ เป็นต้น ต้องผ่านการพิจารณาเหตุอันสมควรจากเจ้าหน้าที่ก่อนที่จะสามารถลงคะแนนเสียงล่วงหน้าได้เพื่อไม่ให้ถูกจำกัดสิทธิ ซึ่งขัดกับหลักการอำนาจอธิปไตยของประชาชน หลักความเสมอภาค และหลักเสรีภาพ ส่วนแนวคิดของ Sieyès มองว่าการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ และทฤษฎีของ Rousseau มองว่าการเลือกตั้งเป็นสิทธิ ทำให้เห็นถึงการแบ่งแยกบทบาทของการเลือกตั้งในฐานะหน้าที่และสิทธิของประชาชน การกำหนดวันเลือกตั้งเพียงวันเดียวในประเทศไทย จึงสร้างข้อจำกัดต่อการเข้าถึงการเลือกตั้งของประชาชนบางกลุ่ม (2) กฎหมายนิวซีแลนด์ เครือรัฐออสเตรเลีย ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ไว้ในคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่จะใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งลงทะเบียนใช้สิทธิได้เลย โดยไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่พิจารณาเและยังกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไว้หลายวัน ส่วนกฎหมายไทยไม่ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่อาจไปเลือกตั้งได้ไว้ในคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่จะใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง ถ้าจะใช้สิทธิดังกล่าวต้องแจ้งเหตุและผ่านการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ก่อนและกำหนดวันเลือกตั้งการใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งเพียงวันเดียว (3) ปัญหาการใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งตามกฎหมายไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ต้องผ่านการพิจารณาของเจ้าหน้าที่และกำหนดวันใช้สิทธิเพียงวันเดียว สร้างข้อจำกัดและเพิ่มภาระให้กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหวหรือภาระงาน ผลกระทบนี้ทำให้การเลือกตั้งไม่สะท้อนถึงเจตจำนงของประชาชน ขัดแย้งกับหลักการของความเสมอภาคและอำนาจอธิปไตยของประชาชน ทฤษฎีของ Sieyès มองว่าการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ขณะที่ Rousseau มองว่าเป็นสิทธิ การกำหนดวันเลือกตั้งเพียงวันเดียวและการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ เป็นการจำกัดเสรีภาพและความเท่าเทียม ในการลงคะแนน ในขณะที่ประเทศนิวซีแลนด์และเครือรัฐออสเตรเลียมีระบบที่ยืดหยุ่นมากกว่า โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งกรณีพิเศษลงคะแนนล่วงหน้าได้เลย โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของเจ้าหน้าที่และมีระยะเวลาการลงคะแนนหลายวัน การปรับปรุงกฎหมายไทยให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของประเทศนิวซีแลนด์และเครือรัฐออสเตรเลียอาจช่วยเพิ่มความเท่าเทียมและสะท้อนเจตจำนงของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น (4) สมควรแก้ไขกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่จะใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งนำมาไว้ในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติสามารถลงทะเบียนใช้สิทธิได้เลย ไม่ต้องผ่านเจ้าหน้าที่พิจารณาก่อนและควรกำหนดระยะเวลาวันเลือกตั้งการใช้สิทธิวันลงคะแนนก่อนวันเลือกตั้งไว้หลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทุกกลุ่มอาชีพได้ใช้สิทธิในการแสดงเจตจำนงได้อย่างเต็มที่ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13492 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2654000880.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น