Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13495
Title: การลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำความผิดวินัยทหาร
Other Titles: Punishment for offenders of military discipline
Authors: ปัณณวิช ทัพภวิมล
กิตติธัช วุฒิสมบูรณ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
ทหาร--วินัย
การลงโทษ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมาเกี่ยวกับ การลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดวินัยทหาร (2) ศึกษาและเปรียบเทียบบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดวินัยทหารทั้งในประเทศไทย กับ สหรัฐอเมริกา ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เครือรัฐออสเตรเลีย (3) วิเคราะห์ปัญหาของมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดวินัยทหารประเทศไทย กับ สหรัฐอเมริกา ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เครือรัฐออสเตรเลีย (4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายการลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดวินัยทหารในประเทศไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางนิติศาสตร์ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ศึกษาตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ วารสาร ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ รายงาน พระราชบัญญัติ รวมทั้งตำราและหลักกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เครือรัฐออสเตรเลีย แล้วนำมาวิเคราะห์หาคำตอบและข้อสรุปภายใต้หลักทฤษฎีและหลักกฎหมาย เพื่อนำมาเป็นข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช 2476ผลจากการศึกษาพบว่า (1) มีทฤษฎีความยุติธรรม ทฤษฎีดุลยพินิจและทฤษฎีการลงโทษ เพื่อข่มขู่ยับยั้ง ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดวินัยทหาร (2) กฎหมายของประเทศไทยมีการลงทัณฑ์เพียง 5 สถาน คือ ภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กัก ขัง จำขัง ซึ่งแตกต่างจาก สหรัฐอเมริกา ราชอาณาจักรเดนมาร์ก และเครือรัฐออสเตรเลีย ที่มีการลงทัณฑ์ ตัดเงินเดือน จ่ายค่าปรับ ทำงานพิเศษ ลดตำแหน่ง และการปลดจากประจำการหรือถอดยศทหารเป็นอำนาจของศาลไม่ใช่อำนาจของผู้บังคับบัญชา (3) ประเทศไทยยังไม่มีหลักเกณฑ์การลงทัณฑ์ทางวินัยทหารที่แน่ชัด ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชา (4) ควรเสนอแนะพัฒนาปรับปรุงพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช 2476 และกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการลงทัณฑ์ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการพิจารณาทางวินัยทหาร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13495
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2654001458.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.