กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13495
ชื่อเรื่อง: | การลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำความผิดวินัยทหาร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Punishment for offenders of military discipline |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปัณณวิช ทัพภวิมล กิตติธัช วุฒิสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี ทหาร--วินัย การลงโทษ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมาเกี่ยวกับ การลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดวินัยทหาร (2) ศึกษาและเปรียบเทียบบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดวินัยทหารทั้งในประเทศไทย กับ สหรัฐอเมริกา ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เครือรัฐออสเตรเลีย (3) วิเคราะห์ปัญหาของมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดวินัยทหารประเทศไทย กับ สหรัฐอเมริกา ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เครือรัฐออสเตรเลีย (4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายการลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดวินัยทหารในประเทศไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางนิติศาสตร์ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ศึกษาตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ วารสาร ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ รายงาน พระราชบัญญัติ รวมทั้งตำราและหลักกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เครือรัฐออสเตรเลีย แล้วนำมาวิเคราะห์หาคำตอบและข้อสรุปภายใต้หลักทฤษฎีและหลักกฎหมาย เพื่อนำมาเป็นข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช 2476ผลจากการศึกษาพบว่า (1) มีทฤษฎีความยุติธรรม ทฤษฎีดุลยพินิจและทฤษฎีการลงโทษ เพื่อข่มขู่ยับยั้ง ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดวินัยทหาร (2) กฎหมายของประเทศไทยมีการลงทัณฑ์เพียง 5 สถาน คือ ภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กัก ขัง จำขัง ซึ่งแตกต่างจาก สหรัฐอเมริกา ราชอาณาจักรเดนมาร์ก และเครือรัฐออสเตรเลีย ที่มีการลงทัณฑ์ ตัดเงินเดือน จ่ายค่าปรับ ทำงานพิเศษ ลดตำแหน่ง และการปลดจากประจำการหรือถอดยศทหารเป็นอำนาจของศาลไม่ใช่อำนาจของผู้บังคับบัญชา (3) ประเทศไทยยังไม่มีหลักเกณฑ์การลงทัณฑ์ทางวินัยทหารที่แน่ชัด ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชา (4) ควรเสนอแนะพัฒนาปรับปรุงพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช 2476 และกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการลงทัณฑ์ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการพิจารณาทางวินัยทหาร |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13495 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2654001458.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น