Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13497
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการต่อต้านการฟ้องร้องปิดปากแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1
Other Titles: Legal problems for combat to SLAPP Lawsuits under Section 161/1 of the Criminal Procedure Code
Authors: สุพัตรา แผนวิชิต
วันทกาญจน์ จิตนาม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
กฎหมายปิดปาก
วิธีพิจารณาความอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษา แนวคิด และทฤษฎีทั่วไป ที่เกี่ยวกับกฎหมายต่อต้านการฟ้องร้องปิดปาก (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศฟิลิปปินส์ที่เกี่ยวกับกฎหมายต่อต้านการฟ้องร้องปิดปาก (3) ศึกษาวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวกับการต่อต้านการฟ้องร้องปิดปาก และ (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายต่อต้านการฟ้องร้องปิดปากการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารกฎหมายเกี่ยวกับกฎหมายต่อต้านการฟ้องร้องปิดปาก โดยศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมถึงเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ โดยผู้ศึกษาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรมเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเสนอแนะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายต่อต้านการฟ้องร้องปิดปากแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 เพื่อให้ได้แนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมให้ชัดเจนและเสนอแนะแนวทางเพื่อเป็นบรรทัดฐานต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิดและทฤษฎีทั่วไป ที่เกี่ยวกับกฎหมายต่อต้านการฟ้องร้องปิดปากนั้น ผู้ที่มาพึ่งศาลจะต้องมาด้วยมือสะอาด” หมายถึง โจทก์หรือผู้เสียหายต้องฟ้องคดีต่อศาลด้วยความสุจริต มิใช่มีเจตนาอื่นนอกเหนือจากประสงค์ให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษตามกฎหมาย และคู่ความในคดีจะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิในการต้อสู้คดีกันอย่างเต็มที่ตามหลักพื้นฐานในระบบวิธีพิจารณาความ ซึ่งถือว่าเป็นหลักของความยุติธรรมตามธรรมชาติและถือเป็นมาตราฐานขั้นต่ำที่สุดในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการดำเนินคดี (2) กฎหมายไทยมีมาตรการเกี่ยวกับกฎหมายต่อต้านการฟ้องร้องปิดปาก ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 แต่ยังมีความไม่ชัดเจน เนื่องจากไม่มีการกำหนดคำนิยาม คำว่า“ฟ้องคดีโดยไม่สุจริต” ทั้งไม่มีมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองสิทธิโจทก์และจำเลยในการต่อสู้คดีและไม่มีผลทางกฎหมายและการลงโทษที่เหมาะสมและชัดเจน ในกฎหมายของต่างประเทศ ได้มีการกำหนดคำนิยาม คำว่า “การฟ้องปิดปาก” ไว้ชัดเจน และมีมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิโจทก์และจำเลยในการต่อสู้ทางคดีโดยให้สิทธิจำเลยยื่น “คำร้องขอยุติคดีโดยเร็ว” และหากศาลวินิจฉัยว่าเป็นคดีฟ้องปิดปาก จำเลยมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการที่โจทก์ฟ้องปิดปาก ซึ่งเรียกว่า “มาตรการฟ้องกลับ” (3) ในขณะที่กฎหมายไทยไม่มีความชัดเจนในเรื่องมาตรการเกี่ยวกับกฎหมายต่อต้านการฟ้องร้องปิดปาก ซึ่งถือว่าเป็นการขัดต่อหลักพื้นฐานทั่วไปในระบบพิจารณาความอาญา เรื่องหลักการค้นหาความจริง หลักการฟังความทุกฝ่าย หลักนิติธรรมและหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการกระทำการหรือการแสดงออกทางความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะที่สุจริต (4) สมควรแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการต่อต้านการฟ้องร้องปิดปากในประเทศไทยเพื่อให้มีความชัดเจนและปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13497
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2654001565.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.