Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13498
Title: Enforcement of Mandatory Actions by the Administrative Court in Cases of Revocation of Erroneous or Unlawful Administrative Orders
การบังคับให้กระทำการของศาลปกครองกรณีเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ผิดพลาดหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
Authors: WASIN SUPUNPAI
วศิน สุพรรณไพ
Supatra Phanwichit
สุพัตรา แผนวิชิต
Sukhothai Thammathirat Open University
Supatra Phanwichit
สุพัตรา แผนวิชิต
[email protected]
[email protected]
Keywords: คำสั่งทางปกครอง การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ศาลปกครอง
Administrative Order Revocation of Administrative Order Administrative Court
Issue Date:  27
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: This independent study aims to: (1) examine the theories and principles of administrative law in cases involving the revocation of administrative orders; (2) study the laws governing the establishment of administrative courts, procedures for administrative cases, and other related laws; (3) investigate foreign laws, specifically those of France and Germany, concerning the revocation of administrative orders; (4) conduct a comparative study between the laws of Thailand and those of France and Germany in this context; and (5) propose appropriate measures for revoking administrative orders and issuing enforceable directives to ensure tangible outcomes from such revocations.This qualitative study involves an in-depth analysis of the laws governing the establishment of administrative courts and the procedures for administrative cases, academic literature, articles, textbooks, theses, as well as orders and judgments of administrative courts, and other relevant documents. The researcher synthesized and analyzed qualitative data from documentary research and literature review to propose solutions addressing issues related to the revocation of administrative orders and the enforcement of directives to ensure tangible outcomes.The study's findings are as follows: (1) According to the theories and principles of administrative law, administrative orders directly affect the rights and freedoms of individuals. Revoking such orders is crucial for ensuring justice and protecting the rights of the affected parties. However, Thailand's administrative legal system lacks clear guidelines for enforcing directives following the revocation of an order, resulting in inefficient redress for damages. (2) Thai law empowers administrative courts to review and revoke administrative orders but lacks explicit provisions for issuing enforceable directives requiring administrative authorities to comply with court rulings. This results in challenges in implementing court orders and delays in providing remedies to affected parties. (3) In France and Germany, administrative courts possess clear authority to prescribe enforcement measures to compel administrative agencies to comply with court rulings. These measures include, for instance, ordering compliance within a specified timeframe or imposing penalties for non-compliance. Such mechanisms ensure that the annulment of administrative orders has tangible and enforceable effects. (4) Comparative legal analysis reveals that Thailand's legal framework lacks the robust mechanisms found in France and Germany for enforcing administrative court rulings, limiting the practical enforcement of such judgments in Thailand. (5) It is recommended that Thai law be amended to enhance the authority of administrative courts to issue enforceable directives, including setting deadlines for compliance, imposing penalties for non-compliance, and implementing automatic remedial measures. Adopting practices from French and German administrative courts could improve efficiency and build trust in Thailand's administrative legal system.
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทฤษฎีและหลักกฎหมายปกครองในคดีที่เกี่ยวข้องกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง (2) ศึกษากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (3) ศึกษากฎหมายของต่างประเทศได้แก่ กฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่เกี่ยวกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง (4) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยกับกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่เกี่ยวกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง และ (5) เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในเกี่ยวกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองและการกำหนดคำบังคับเพื่อให้การเพิกถอนมีผลเป็นรูปธรรมการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการศึกษากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง เอกสารวิชาการ บทความ ตำรา วิทยานิพนธ์ รวมถึงคำสั่งและคำพิพากษาของศาลปกครอง ตลอดจนเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ศึกษาได้ทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเสนอแนะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองและการกำหนดคำบังคับเพื่อให้การเพิกถอนมีผลเป็นรูปธรรมผลของการศึกษาพบว่า (1) ตามทฤษฎีและหลักกฎหมายปกครองคำสั่งทางปกครองมีผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวจึงมีความสำคัญในการรักษาความเป็นธรรมและปกป้องสิทธิของผู้เสียหาย อย่างไรก็ตามระบบกฎหมายปกครองไทยยังขาดแนวทางที่ชัดเจนในการกำหนดคำบังคับหลังจากคำสั่งถูกเพิกถอนส่งผลให้ไม่สามารถแก้ไขความเสียหายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ (2) กฎหมายไทยให้อำนาจศาลปกครองในการพิจารณาและเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง แต่ขาดบทบัญญัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดคำบังคับให้ฝ่ายปกครองดำเนินการตามคำพิพากษา ทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติตามคำสั่งศาลรวมถึงเกิดความล่าช้าในการเยียวยาผู้เสียหาย (3) อำนาจในการกำหนดคำบังคับของต่างประเทศ กรณีศาลปกครองในฝรั่งเศสและเยอรมันมีอำนาจที่ชัดเจนในการกำหนดคำบังคับเพื่อให้ฝ่ายปกครองดำเนินการตามคำพิพากษาโดยใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การสั่งให้ปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือการกำหนดบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ทำให้การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองมีผลบังคับใช้ที่เป็นรูปธรรม (4) จากการศึกษากฎหมายเปรียบเทียบพบว่า กฎหมายไทยยังขาดกลไกที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้คำพิพากษาของศาลปกครองแตกต่างจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่มีกฎหมายรองรับอำนาจศาลในการกำหนดคำบังคับอย่างชัดเจน ส่งผลให้การบังคับใช้คำพิพากษาในไทยมีข้อจำกัดในทางปฏิบัติ (5) สมควรให้มีการปรับปรุงกฎหมายไทยเพื่อเพิ่มอำนาจศาลปกครองในการกำหนดคำบังคับให้ฝ่ายปกครองปฏิบัติตามคำพิพากษา เช่น การกำหนดระยะเวลาปฏิบัติ การลงโทษกรณีไม่ปฏิบัติตาม หรือการกำหนดมาตรการเยียวยาโดยอัตโนมัติ พร้อมทั้งนำแนวปฏิบัติจากศาลปกครองสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นในระบบกฎหมายปกครองไทย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13498
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2654001623.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.