กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13498
ชื่อเรื่อง: | การบังคับให้กระทำการของศาลปกครองกรณีเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ผิดพลาดหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Enforcement of mandatory actions by the Administrative Court in Cases of Revocation of Erroneous or Unlawful Administrative Orders |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพัตรา แผนวิชิต วศิน สุพรรณไพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี ศาลปกครอง การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทฤษฎีและหลักกฎหมายปกครองในคดีที่เกี่ยวข้องกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง (2) ศึกษากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (3) ศึกษากฎหมายของต่างประเทศได้แก่ กฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่เกี่ยวกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง (4) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยกับกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่เกี่ยวกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง และ (5) เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในเกี่ยวกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองและการกำหนดคำบังคับเพื่อให้การเพิกถอนมีผลเป็นรูปธรรมการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการศึกษากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง เอกสารวิชาการ บทความ ตำรา วิทยานิพนธ์ รวมถึงคำสั่งและคำพิพากษาของศาลปกครอง ตลอดจนเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ศึกษาได้ทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเสนอแนะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองและการกำหนดคำบังคับเพื่อให้การเพิกถอนมีผลเป็นรูปธรรมผลของการศึกษาพบว่า (1) ตามทฤษฎีและหลักกฎหมายปกครองคำสั่งทางปกครองมีผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวจึงมีความสำคัญในการรักษาความเป็นธรรมและปกป้องสิทธิของผู้เสียหาย อย่างไรก็ตามระบบกฎหมายปกครองไทยยังขาดแนวทางที่ชัดเจนในการกำหนดคำบังคับหลังจากคำสั่งถูกเพิกถอนส่งผลให้ไม่สามารถแก้ไขความเสียหายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ (2) กฎหมายไทยให้อำนาจศาลปกครองในการพิจารณาและเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง แต่ขาดบทบัญญัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดคำบังคับให้ฝ่ายปกครองดำเนินการตามคำพิพากษา ทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติตามคำสั่งศาลรวมถึงเกิดความล่าช้าในการเยียวยาผู้เสียหาย (3) อำนาจในการกำหนดคำบังคับของต่างประเทศ กรณีศาลปกครองในฝรั่งเศสและเยอรมันมีอำนาจที่ชัดเจนในการกำหนดคำบังคับเพื่อให้ฝ่ายปกครองดำเนินการตามคำพิพากษาโดยใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การสั่งให้ปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือการกำหนดบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ทำให้การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองมีผลบังคับใช้ที่เป็นรูปธรรม (4) จากการศึกษากฎหมายเปรียบเทียบพบว่า กฎหมายไทยยังขาดกลไกที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้คำพิพากษาของศาลปกครองแตกต่างจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่มีกฎหมายรองรับอำนาจศาลในการกำหนดคำบังคับอย่างชัดเจน ส่งผลให้การบังคับใช้คำพิพากษาในไทยมีข้อจำกัดในทางปฏิบัติ (5) สมควรให้มีการปรับปรุงกฎหมายไทยเพื่อเพิ่มอำนาจศาลปกครองในการกำหนดคำบังคับให้ฝ่ายปกครองปฏิบัติตามคำพิพากษา เช่น การกำหนดระยะเวลาปฏิบัติ การลงโทษกรณีไม่ปฏิบัติตาม หรือการกำหนดมาตรการเยียวยาโดยอัตโนมัติ พร้อมทั้งนำแนวปฏิบัติจากศาลปกครองสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นในระบบกฎหมายปกครองไทย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13498 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2654001623.pdf | 2.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น