กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13499
ชื่อเรื่อง: | Controlling the Discretion of Independent Organizations : Study the Case of Information Disclosure by the National Anti-Corruption Commission. การควบคุมการใช้ดุลพินิจขององค์กรอิสระ ศึกษากรณีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | Adisorn Puangchinda อดิศร พ่วงจินดา Supatra Phanwichit สุพัตรา แผนวิชิต Sukhothai Thammathirat Open University Supatra Phanwichit สุพัตรา แผนวิชิต [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | คณะกรรมการ ป.ป.ช. เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ดุลพินิจ National Anti-Corruption Commission - Disclosure of information - Discretion |
วันที่เผยแพร่: | 12 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | This independent study aims to: (1) examine the concepts and theories related to the disclosure of information held by the National Anti-Corruption Commission (NACC); (2) compare the scope of discretion exercised by the NACC in disclosing held information both domestically and internationally; (3) analyze the issues arising from the NACC’s exercise of discretion in disclosing such information; and (4) propose recommendations on the exercise of discretion regarding the disclosure of information held by independent constitutional bodies. This independent study constitutes a legal inquiry conducted through qualitative research methodologies, specifically employing document analysis. The study involves the systematic collection of data from legal texts, textbooks, statutes, Supreme Court rulings, scholarly articles, academic journals, research dissertations, educational reports, and other academic documents in the Thai language. Additionally, it encompasses an examination of credible electronic sources from reputable websites. The analysis further includes a comparative study with international frameworks to derive conclusions grounded in legal theories and principles. The objective is to formulate recommendations for the enhancement of transparency in governmental information disclosure by the National Anti-Corruption Commission. The study finds that: (1) The right to access governmental information is recognized under international human rights law, notably in Article 19 of the Universal Declaration of Human Rights. This right is also supported by the constitutions and laws to ensure individual rights. The public has the right to access governmental information, except where it pertains to respecting others' rights or reputations, national security, public order, public health, or public morals. Therefore, government agencies must exercise legitimate discretion in disclosing such information to uphold the right to access information. (2) Thai legislation concerning the discretion of the National Anti-Corruption Commission (NACC) regarding the disclosure of information in its possession remains ambiguous, with conflicting interpretations regarding the exercise of this authority in relation to applicable laws. In contrast, jurisdictions abroad, particularly in the United Kingdom, have seen the High Court rulings that assess the disclosure of information by Members of Parliament in light of public interest. Conversely, Thailand’s provisions are broadly defined without explicitly delineating what constitutes detrimental public interest, resulting in inconsistent exercise of discretion that does not genuinely reflect the intent of the law. (3) The scope of discretion in information disclosure by the NACC lacks sufficient clarity, leading to discretionary actions that do not fully adhere to the legislative intent. (4) It is recommended to amend the Organic Act on Anti-Corruption to better align with the Official Information Act. This could involve clearly defining protected information categories, access procedures for disclosable information, conditions for the cessation of non-disclosure, criteria for disclosure, and procedures following decisions on information disclosure by the relevant committee, to reduce interpretative conflicts. การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในครอบครองของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (2) ศึกษาเปรียบเทียบขอบเขตการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในครอบครอง ในประเทศไทยและประเทศสหราชอาณาจักร (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในครอบครอง (4) ศึกษาข้อเสนอแนะในเรื่องการใช้ดุลพินิจในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในครอบครองขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยทางนิติศาสตร์ นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยอาศัยค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ ตำรา กฎหมาย คำพิพากษาฎีกา บทความทางวิชาการ วารสาร ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ รายงานการศึกษา หรือเอกสารทางวิชาการที่เป็นภาษาไทย รวมถึงการสืบค้นข้อมูลและสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ วิเคราะห์เปรียบเทียบกับต่างประเทศ เพื่อหาข้อสรุป ภายใต้หลักทฤษฎีและหลักกฎหมาย เพื่อนำมาเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทางราชการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติให้มีความเหมาะสมต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิดทฤษฎีนั้นสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของราชการ เป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่ถูกกำหนดในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งบัญญัติไว้ในข้อ 19 และได้รับรองสิทธิของสาธารณชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารโดยการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายเพื่อประกันสิทธิของบุคคล ประชาชนมีสิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารของทางราชการได้เว้นแต่กรณีที่เป็นการเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น หรือเพื่อรักษาความมั่นคงแห่งชาติหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือสุขภาพของประชาชนหรือศีลธรรมอันดี รัฐหรือหน่วยงานรัฐจึงต้องใช้ดุลพินิจที่ชอบธรรมในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อประชาชนตามสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (2) กฎหมายไทยเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในครอบครอง ยังมีความไม่ชัดเจน มีการตีความหมายของการใช้อำนาจขัดแย้งกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่ต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศสหราชอาณาจักรมีคำพิพากษาของศาลสูงที่ได้วินิจฉัยเคยวินิจฉัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยนำเอามาประเมินชั่งน้ำหนักกับผลประโยชน์สาธารณะ ซึ่งประเทศไทยมีการกำหนดไว้ในลักษณะกว้างไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าอย่างไรถึงเข้าเป็นเรื่องที่เกิดผลเสียประโยชน์สาธารณะ จึงทำให้เกิดการใช้ดุลพินิจในลักษณะลักลั่นไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างแท้จริง (3) ปัญหาขอบเขตการใช้ดุลพินิจในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติยังมีความชัดเจนเพียงพอ ทำให้เกิดการใช้อำนาจดุลพินิจไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างแท้จริง (4) สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในประเด็นการเปิดเผยข้อมูลข่าสารราชการให้สอดคล้องมากขึ้นกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยอาจจำเป็นการระบุประเภทของข้อมูลข่าวสารที่ให้การคุ้มครอง ขั้นตอนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จะเปิดเผยได้ การสิ้นสุดของการไม่เปิดเผย กรณีใดบ้างที่เปิดเผยได้ รวมทั้งอาจกำหนดเรื่องประเด็นหลังจากมีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมาแล้วต้องดำเนินการอย่างไรให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อลดการตีความหมายขัดกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13499 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2654001631.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น