Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13500
Title: | ปัญหามาตรการป้องกันและปราบปรามขบวนการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานในประเทศไทย |
Other Titles: | Issues of prevention and suppression of migrant smuggling in Thailand |
Authors: | สุพัตรา แผนวิชิต อิสริยาภ์ ดิษยะวงษ์วราง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การลักลอบขนผู้ย้ายถิ่น--ไทย การเข้าเมืองผิดกฎหมาย--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความเป็นมาของขบวนการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน (2) เปรียบเทียบบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันและปราบปรามขบวนการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ทั้งในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา (3) วิเคราะห์ปัญหามาตรการป้องกันและปราบปรามขบวนการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน (4) ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามขบวนการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานในประเทศไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยอาศัยค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ ตำรา กฎหมาย คำพิพากษาฎีกา บทความทางวิชาการ วารสาร ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ รายงานการศึกษา หรือเอกสารทางวิชาการที่เป็นภาษาไทย รวมถึงการสืบค้นข้อมูลและสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ วิเคราะห์เปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกา เพื่อหาข้อสรุป ภายใต้หลักทฤษฎีและหลักกฎหมาย เสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสมต่อไปผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดเหตุฉกรรจ์ในความผิดอาญา สอดคล้องเจตนารมณ์ในการกำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษหนักขึ้นในความผิดที่เกี่ยวกับขบวนการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน เช่น กรณีเป็นเหตุให้บุคคลใดเสียชีวิต กรณีกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ เป็นต้น (2) ประเทศไทย มีมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามขบวนการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน แต่การกำหนดลักษณะการกระทำความผิดของการลักลอบขนเข้าเมืองไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยคนกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ยังไม่เพียงพอและสอดคล้องกับคำนิยามของขบวนการในรูปแบบองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000 และพิธีสารว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานโดยทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ค.ศ. 2000 (3) ปัญหาการไม่บัญญัติความผิดฐานลักลอบขนคนเข้าเมืองและเหตุเพิ่มโทษสำหรับสถานการณ์รุนแรงในความผิดฐานลักลอบขนคนเข้าเมืองของประเทศไทยยังครอบคลุมและสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและบัญญัติเช่นเดียวกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา (4) จึงเห็นควรให้มีการความผิดฐานลักลอบขนคนเข้าเมืองของประเทศไทยให้ครอบคลุม รวมถึงการเพิ่มเติมบทกำหนดโทษสำหรับเหตุฉกรรจ์ในความผิดเกี่ยวกับขบวนการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานให้เหมาะสมเป็นไปตามแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดเหตุฉกรรจ์ในความผิดอาญาและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13500 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2654001649.pdf | 984.63 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.