Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13501
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณวิภา เมืองถ้ำth_TH
dc.contributor.authorทรงพล อัชวากุลth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2025-01-24T08:47:51Z-
dc.date.available2025-01-24T08:47:51Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13501en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประวัติความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ในประเทศไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศสและประเทศญี่ปุ่น (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และการลงโทษทางอาญา (4) เสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และโทษทางอาญาที่เหมาะสม เพื่อให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการจากเอกสาร ซึ่งผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องจาก ตัวบทกฎหมายต่างๆ ทั้งในและสาธารณรัฐฝรั่งเศสและประเทศญี่ปุ่น หนังสือ บทความ งานวิจัย เอกสารทางวิชาการอื่นๆ และข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหา ที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ โดยเฉพาะในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหน่วยงานในการจัดซื้อจัดจ้างมากที่สุด เพื่อนำมาเป็นแนวทางและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างที่มีผลต่อการกระทำความผิดในประเทศไทยที่สำคัญมี 3 ทฤษฎีด้วยกันคือ ทฤษฎีความผิดเกี่ยวการสมยอมราคา ทฤษฎีแนวคิดเกี่ยวกับการแข่งขันร่วมกันประมูลงานอย่างไม่เป็นธรรม และทฤษฎีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (2) กฎหมายในการจัดซื้อจัดจ้างในประเทศไทยปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 สาธารณรัฐฝรั่งเศสจะใช้ประมวลกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของฝรั่งเศส ญี่ปุ่นจะเป็นกฎหมายป้องกันการผูกขาด (3) ปัญหาที่พบคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ยังไม่มีบทลงโทษเกี่ยวกับนิติบุคคลอย่างชัดเจน ร่วมถึงการกระทำความผิดที่มีลักษณะเป็นองค์กร หรือเครือข่ายอาชญกรรม รวมถึงการกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษทางอาญาไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน (4) แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ การปรับปรุงเพิ่มเติมกฎหมาย พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ให้มีประสิทธิภาพครอบคลุมถึงการกระทำความผิดในรูปแบบต่าง ๆth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectราคา--นโยบายของรัฐth_TH
dc.subjectกฎหมายอาญาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleปัญหาการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐกับการลงโทษทางอาญาที่เหมาะสมth
dc.title.alternativeProblems of wrongdoing in bidding for government agencies and appropriate criminal punishmenten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study aims to (1) study the history, concepts and theories of government procurement laws; (2) study and compare laws related to government procurement laws in Thailand, French Republic and Japan; (3) analyze legal problems related to government procurement and criminal punishment; and (4) propose guidelines for improving and amending laws related to government procurement and appropriate criminal punishments in order to make them more effective.This independent research is a qualitative research by means of documents, in which the researcher has collected information from all relevant documents from various laws both domestically and French Republic and Japan. Books, Articles Research, other academic papers and information from the Internet to be used to study and analyze Problems related to government procurement, especially in local government organizations, which are the most procurement agencies. This is to be used as a guideline and suggestion to improve the law on procurement in accordance with the Act on Offences Relating to Bidding to Government Agencies B.E. 2542 (1999) in order to improve the efficiency of law enforcement.The study's findings are as follows: (1) Theoretical concepts related to procurement that significantly impact violations in Thailand include three main theories: the theory of price collusion, the theory of unfair competition in bidding, and the theory of conflict of interest. (2) The current procurement law in Thailand is the Act on Offences Relating to Bidding to Government Agencies B.E. 2542 (1999). In the French Republic, the law is the French Public Procurement Code, while in Japan, it is the Antimonopoly Act. (3) The problem identified is that the Act on Offences Relating to Bidding to Government Agencies B.E. 2542 (1999) lacks clear penalties for juristic persons and does not adequately address offenses involving organized crime or criminal networks. Moreover, the current penalties do not align with modern social conditions. (4) The proposed solution is to amend the Act on Offences Relating to Bidding to Government Agencies B.E. 2542 (1999) to effectively address various forms of violations.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2654001672.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.