กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13508
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา กรณีคุกคามทางเพศ : ศึกษากรณีการสะกดรอยตาม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Issues related to criminal proceedings in cases of sexual harassment: a study of stalking cases |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณวิภา เมืองถ้ำ นัฐพัชร์สร ศิริผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การคุกคามทางเพศ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม Born digital |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์ทางกฎหมาย เกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญา กรณีการคุกคามทางเพศในรูปแบบการสะกดรอยเฝ้าติดตาม (2) ศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ของกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญา กรณีการคุกคามทางเพศในรูปแบบการสะกดรอยเฝ้าติดตามในประเทศไทยกับเครือรัฐออสเตรเลียและประเทศอังกฤษ (3) ศึกษาและวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหากฎหมายความผิดเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศโดยการสะกดรอยตาม (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดในการคุกคามทางเพศโดยการสะกดรอยตามการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการจากเอกสาร ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ วารสาร ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ถึงการคุ้มครองผู้ถูกกระทำการคุกคามทางเพศและยับยั้งผู้กระทำการคุกคามทางเพศในรูปแบบสะกดรอยเฝ้าติดตาม ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวความคิดที่เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศโดยการสะกดรอยเฝ้าติดตามนั้นมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่ต้องนำพิจารณา ได้แก่ ทฤษฎีการลงโทษเพื่อข่มขู่ยับยั้งผู้กระทำความผิด เนื่องจากสามารถป้องปรามการกระทำความผิดซ้ำได้ และทฤษฎีวิศวกรรมสังคม เพราะการออกกฎหมายต้องสอดคล้องกับการกระทำความผิด (2) เมื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศของประเทศไทยเป็นเพียงความผิดลหุโทษ ส่วนเครือรัฐออสเตรเลีย และประเทศอังกฤษมีการกำหนดความหมาย ลักษณะ พฤติกรรม และการให้ความคุ้มครองผู้เสียหายจากการคุกคามทางเพศโดยวิธีการสะกดรอยตาม รวมถึงบทลงโทษของการฝ่าฝืนความคุ้มครองผู้ถูกคุกคามไว้อย่างชัดเจน (3) แม้ปัจจุบันจะมีการยกร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ให้การคุกคามทางเพศเป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ แต่ร่างดังกล่าวก็ยังไม่ครอบคลุมปัญหาการคุกคามทางเพศรูปแบบการสะกดรอยเฝ้าติดตาม ต่างจากเครือรัฐออสเตรเลียและประเทศอังกฤษได้มีกฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศรูปแบบการสะกดรอยเฝ้าติดตามเป็นการเฉพาะ (4) เสนอให้มีการตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติเพื่อบังคับใช้ในกรณีการคุกคามทางเพศรูปแบบการสะกดรอยเฝ้าติดตาม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13508 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2654001870.pdf | 2.42 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น