กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13509
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการการุณยฆาต |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for amending the Euthanasia Law |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิกรณ์ รักษ์ปวงชน บุษยา เหมทานนท์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การุณยฆาต--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิวัฒนาการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการทำการุณยฆาต (2) ศึกษาหลักกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำการุณฆาตของประเทศไทยและราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการทำการุณยฆาต (4) เสนอแนะแนวทางการกำหนดกฎหมายเกี่ยวกับการุณยฆาตของไทยต่อไปการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารโดยการรวบรวมข้อมูล จากตัวบทกฎหมาย หนังสือ บทความทางวิชาการ ผลงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาศาลฎีกา ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทำการสัมภาษณ์นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อประกอบการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการทำการุณยฆาต ผลการศึกษาพบว่า (1) วิวัฒนาการของการทำการุณยฆาตมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยกรีกโบราณมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการุณยฆาต สําหรับชาวโรมันการอัตวินิบาตกรรมเป็นสิ่งที่กฎหมายอนุญาตโดยส่วนใหญ่ จนกระทั่งในปัจจุบันมีหลายประเทศทั่วโลกออกกฎหมายให้การทำการุณยฆาตสามารถทำได้ภายใต้การกำกับดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และผ่านกระบวนการทางกฎหมายอย่างรัดกุม แนวคิดเกี่ยวกับความตายตามสํานักประโยชน์นิยมมีทัศนะว่าควรเลือกกระทำการที่มีประโยชน์มากกว่าโทษ ทฤษฎีความรับผิดทางอาญาที่ต้องพิจารณาการกระทำประกอบกับเจตนาภายในจิตใจของผู้กระทำด้วย (2) กฎหมายเกี่ยวกับการทำการุณฆาตของประเทศไทยนั้น มีเฉพาะการทำการุณยฆาตเชิงรับเท่านั้น แตกต่างกับกฎหมายของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ที่มีทั้งการทำการุณยฆาตเชิงรุก เชิงรับ และเชิงสงบ (3) ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำการุณยฆาต คือกฎหมายไทยยังไม่รองรับให้มีการทำการุณยฆาตเชิงรุกและเชิงสงบได้ (4) ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 วรรคหนึ่งตอนท้าย ให้เปิดช่องทางการทำการุณยฆาตได้ทั้งเชิงรุก เชิงรับ และเชิงสงบ โดยสามารถลงมือกระทำได้ทั้งผู้ป่วยเอง หรือ แพทย์ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติมมาตรา 12/1 - 12/2 เรื่องขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายการุณยฆาต โดยระบุโรคและอายุของผู้ที่มีสิทธิทำการรุณยฆาตไว้อย่างละเอียด แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 12/3 - 12/5 เรื่องความรับผิดของแพทย์และผู้ที่เกี่ยวข้อง และเพิ่มเติมมาตรา 12/6 ให้การุณยฆาตไม่ถือว่าเป็นการอัตวินิบาตกรรม เพื่อให้บริษัทประกันไม่อาจปัดความรับผิดในประกันชีวิตที่คุ้มครองโรคเรื้อรังเฉพาะได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13509 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2654001953.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น