กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13510
ชื่อเรื่อง: Problems of Criminal Liability for Negligent Acts : A Case Study on Negligent Driving Causing Death
ปัญหาความรับผิดทางอาญาจากการกระทำโดยประมาท  ศึกษาเฉพาะกรณีการขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: SITTHINUT RUKTHITITHAM
สิทธิณัฐ รักฐิติธรรม
Wanwipa Muangtham
วรรณวิภา เมืองถ้ำ
Sukhothai Thammathirat Open University
Wanwipa Muangtham
วรรณวิภา เมืองถ้ำ
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: การกระทำโดยประมาท กฎหมายจราจร ความรับผิดทางอาญา
Negligent Acts
Traffic Laws
Criminal Liability
วันที่เผยแพร่:  9
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: This independent study aims to (1) examine the concepts and theories related to negligent acts, punishment theories, and traffic laws; (2) compare the laws of Thailand with those of Singapore and the Commonwealth of Australia, specifically the state of South Australia, regarding the offense of negligent driving; (3) study and analyze legal issues related to the offense of negligent driving; and (4) propose recommendations for amending laws related to negligent driving offenses to improve their effectiveness. The research methods used in this study is qualitative research and the field of this study is to research all relevant legal evidence from Thai and a group of international study; namely, legal cases, laws and regulations, previous journals, and other essential information. The study found that (1) in theory, negligent acts are classified into two categories: conscious negligence and unconscious negligence. (2) The laws of Singapore and the Commonwealth of Australia, specifically the state of South Australia, define two categories of offenses related to negligent driving: careless driving and reckless or dangerous driving. The penalties are variable, depending on the severity of the damage caused, with additional penalties for repeat offenses. (3) Thailand’s Land Traffic Act B.E. 2522 (1979) does not explicitly provide penalties for negligent driving or driving in a manner that clearly disregards the safety of others, resulting in harm to life or bodily injury. Instead, such acts are considered negligence, subject to liability under the Penal Code. This situation presents three legal issues: 1. Defining the offense of negligent driving, 2. Increasing penalties for repeat negligent driving offenses, and 3. Imposing cumulative penalties for repeated negligent driving offenses. (4) There should be specific provisions in the Land Traffic Act B.E. 2522 (1979) addressing driving that causes harm to the life or body of others, including repeat offenses, and granting courts the authority to impose additional penalties for negligent driving or driving in a manner that clearly disregards the safety of others.
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำโดยประมาท ทฤษฎีการลงโทษ และกฎหมายจราจร (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยกับกฎหมายของประเทศสิงคโปร์และเครือรัฐออสเตรเลีย รัฐเซาท์ออสเตรเลีย ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานขับขี่โดยประมาท (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานขับขี่โดยประมาท (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานขับขี่โดยประมาทให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ บทความต่าง ๆ วิทยานิพนธ์ และข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อหาข้อสรุปและเสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องผลการศึกษาพบว่า (1) ในทางทฤษฎีการกระทำโดยประมาทแบ่งลักษณะของการกระทำเป็น 2 ประเภท  คือ ประมาทโดยรู้ตัว กับประมาทโดยไม่รู้ตัว (2) กฎหมายของประเทศสิงคโปร์และเครือรัฐออสเตรเลีย  รัฐเซาท์ออสเตรเลีย ได้กำหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการขับขี่โดยประมาทออกเป็น 2 ประเภท คือ การขับขี่โดยปราศจากความระมัดระวัง และการขับขี่โดยประมาทหรืออันตราย โดยอัตราโทษจะผันแปรตามระดับของความเสียหาย ที่เกิดขึ้น และมีบทกำหนดโทษสำหรับกรณีกระทำผิดซ้ำ (3) ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522  ของประเทศไทย ไม่มีบทกำหนดโทษกรณีการขับขี่โดยประมาทหรือการขับขี่ในลักษณะที่เห็นได้ว่าไม่คำนึงถึง ความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายไว้โดยเฉพาะ  แต่จะถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทซึ่งจะมีความรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ทำให้เกิดปัญหา ในทางกฎหมาย 3 ประการ คือ 1. การกำหนดความผิดฐานขับขี่รถโดยประมาท 2. การเพิ่มโทษกรณีกระทำความผิดฐานขับขี่รถโดยประมาทซ้ำ และ 3. การบวกโทษที่รอการลงโทษกรณีกระทำความผิดฐานขับขี่รถ โดยประมาท (4) ควรมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการขับขี่ที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกาย รวมทั้ง การกระทำความผิดซ้ำและให้อำนาจศาลในการบวกโทษที่รอการลงโทษไว้สำหรับกรณีการขับขี่โดยประมาท หรือการขับขี่ในลักษณะที่เห็นได้ว่าไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่นไว้ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13510
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2654002050.pdf1.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น