Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13513
Title: | ปัญหาทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามความผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า |
Other Titles: | Legal issues in the prevention and suppression of trademark infringement |
Authors: | ปวินี ไพรทอง ทนงศักดิ์ พรหมน้อย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี เครื่องหมายการค้า--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมา แนวคิดและทฤษฎีของการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้า การป้องกันและปราบปรามความผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าทั้งกฎหมายของประเทศไทยและกฎหมายของสหรัฐอเมริกา และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (3) ศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายด้านการป้องกันและปราบปรามความผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของประเทศไทย (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายด้านการป้องกันและปราบปรามความผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยจากเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย ข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง หนังสือคำอธิบายกฎหมายที่เกี่ยวข้อง บทความทางวิชาการ เอกสารงานวิจัย คำพิพากษาศาลฎีกา รวมทั้งข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายด้านการป้องกันและปราบปรามความผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันผลการศึกษาพบว่า (1) เครื่องหมายการค้ามีขึ้นเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาหรือเจ้าของสินค้านั้น ๆ แสดงออกถึงคุณภาพ ตลอดจนภาพลักษณ์ของสินค้าและบริการ (2) การนำสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นไปลวงขายผู้บริโภคว่าเป็นสินค้าของตนเองนั้นเป็นความผิดและมีโทษทางอาญาด้วย สำหรับในประเทศไทย มีพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และประมวลกฎหมายอาญาที่กำหนดความผิดและโทษทางอาญาไว้ ส่วนในสหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีประมวลกฎหมายสหรัฐอเมริกาและพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าเยอรมัน ค.ศ. 1994 ที่กำหนดความผิดและโทษทางอาญาไว้เช่นเดียวกัน (3) การศึกษาวิเคราะห์พบปัญหาว่า กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวยังคงมีบทบัญญัติของกฎหมายบางประการ เช่น ปัญหาความซ้ำซ้อน ปัญหาความไม่ชัดเจนและครอบคลุมเกี่ยวกับเนื้อหาและการวินิจฉัยองค์ประกอบการกระทำความผิด และปัญหาอัตราโทษ (4) เสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 โดยกำหนดให้ความผิดและโทษทางอาญาเกี่ยวกับการละเมิดเครื่องหมายการค้าบัญญัติอยู่ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เพียงฉบับเดียว และบัญญัติเนื้อหาให้มีความชัดเจนและครอบคลุมเกี่ยวกับองค์ประกอบการกระทำความผิด ตลอดจนแก้ไขอัตราโทษให้มีความเหมาะสมกับการกระทำผิด เพื่อให้สามารถนำกฎหมายมาบังคับใช้ได้อย่างแท้จริงและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13513 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2654002134.pdf | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.