กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13515
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการแก้ไขคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal issues in revising the definitive non-prosecution orders of public prosecutor |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปวินี ไพรทอง พัชระ เนติ์พีระ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การฟ้องคดีอาญา การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับการแก้ไขคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ (2) ศึกษาการแก้ไขคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการตามกฎหมายประเทศไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการแก้ไขคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ (4) เสนอแนะในการแก้ไขปัญหาคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการให้เหมาะสมกับประเทศไทย การศึกษาค้นคว้านี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยค้นคว้าจากเอกสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ตำรา หนังสือ วารสาร บทบัญญัติของกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อคิดเห็นของนักวิชาการ ข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อนำมาศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับการแก้ไขคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ การตรวจสอบการสั่งคดีในชั้นก่อนฟ้อง คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี ผลของคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี และการแก้ไขคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี ทั้งของประเทศไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ จากการศึกษาพบว่า (1) คำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการไม่มีความเป็นที่สุดดังเช่นคำพิพากษา ดังนั้น การแก้ไขคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีจึงไม่ขัดต่อหลักการพื้นฐานของการดำเนินคดีอาญา (2) การแก้ไขคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาของไทยมีเพียงเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 147 คือจะต้องมีพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดี ส่วนสาธารณรัฐฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษมีกฎหมายให้อำนาจแก้ไขคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีได้ทั้งสิ้น (3) คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการที่เกิดข้อผิดพลาดมีปัญหาทางกฎหมายของการแก้ไขคำสั่ง (4) ผู้ศึกษาขอเสนอแนวทางการแก้ไขคือ 1) ควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีจารณาความอาญา มาตรา 147 โดยให้อัยการสูงสุดมีอำนาจแก้ไขคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีที่เกิดขึ้นโดยผิดพลาดได้ ส่วนกรณีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีที่เป็นคำสั่งของอัยการสูงสุดให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการอัยการ 2) ควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักงานอัยการสุงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2563 โดยเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการแก้ไขคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีที่ผิดพลาด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13515 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2654002431.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น