Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13516
Title: | การยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 |
Other Titles: | Submitting a request for compensation in a civil case related to a Criminal Trial under section 44/1 of the Criminal Procedure Code |
Authors: | ปัณณวิช ทัพภวิมล ชิดชนก เรืองศรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี ค่าสินไหมทดแทน วิธีพิจารณาความอาญา การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีหลักการและความเป็นมาของการยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 (2) ศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร (3) วิเคราะห์ปัญหาของมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 (4) เสนอแนะแนวทางปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 ในประเทศไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยอาศัยค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือหรือเอกสารตลอดจนศึกษาตำรากฎหมาย คำพิพากษาฎีกา บทความทางวิชาการ วารสาร ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และพระราชบัญญัติ โดยผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาวิเคราะห์หาคำตอบและข้อสรุป ภายใต้หลักทฤษฎีและหลักกฎหมาย และเสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสมเกี่ยวกับการยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาผลการศึกษาพบว่า (1) การยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามีแนวคิดว่าผู้เสียหายซึ่งถือเป็นเหยื่อในคดีอาญาสมควรได้รับการคุ้มครองสิทธิและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับผู้ถูกกล่าวหา รัฐบาลจึงต้องบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือ รับรองและคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญา (2) การยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาของสหราชอาณาจักร ผู้เสียหายสามารถยื่นคำร้องได้ในชั้นสอบสวน ส่วนสาธารณรัฐฝรั่งเศสผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีอาญาสินไหมได้ต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญา (3) การยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาของประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติให้หน่วยงานใดมีหน้าที่แจ้งสิทธิและกระบวนการยื่นคำร้องแก่ผู้เสียหาย ไม่มีบทบัญญัติกำหนดลำดับการบังคับคดีและไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ที่ต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำความผิดเข้ามาในคดีอาญา (4) ควรเพิ่มบทบัญญัติกฎหมายโดยกำหนดให้พนักงานสอบสวนแจ้งสิทธิแก่ผู้เสียหาย และกำหนดลำดับการบังคับคดีให้ผู้เสียหายได้รับค่าสินไหมทดแทนก่อนการชำระค่าธรรมเนียมศาล และเพิ่มบทบัญญัติให้ผู้เสียหายสามารถเรียกผู้ที่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยมาในคดีจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้เสียหาย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13516 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2654002449.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.