กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13517
ชื่อเรื่อง: | Guidelines for Improvement on Law of Witness Protection under Trial and adjudication by Court Marshal Act B.E.2562 แนวทางปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครองพยานในชั้นศาล ตามพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | WONGSAKORN CHUTIMASATHAPORN วงศกร ชุติมาสถาพร Wanwipa Muangtham วรรณวิภา เมืองถ้ำ Sukhothai Thammathirat Open University Wanwipa Muangtham วรรณวิภา เมืองถ้ำ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | การคุ้มครองพยานในชั้นศาล พยาน เจ้าพนักงานตำรวจศาล Witness Protection under Trial and adjudication Witness Court Marshal |
วันที่เผยแพร่: | 7 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | This independent study aimed to: (1) investigate the background, policies, concepts, and theories related to law of witness protection under trial and adjudication; (2) examine and compare the laws of witness protection under trial and adjudication of Thailand, the United States, and Germany; (3) analyze state and problem the laws of witness protection under trial and adjudication of Thailand and other countries; (4) suggest directions and improvements for the law of witness protection under trial and adjudication, leading to the enhancement and effectiveness of laws. This independent study was a qualitative research based on document analysis. The researcher gathered data from all related documents, including legal texts, theses, books, articles, research papers, other academic documents, and internet information. This data was used to study and analyze law of witness protection under trial and adjudication, and online information both from Thailand and other countries related to law of witness protection under trial and adjudication by Court Marshal Act B.E.2562 (2019) was utilized to suggest directions and improvements for more effective future legislation. The findings indicated that: (1) according to related theories and concepts, the laws of witness protection under trial and adjudication.; (2) compare to the laws of witness protection under trial and adjudication of the United States and Germany, Thailand’s legislation is still not comprehensive or appropriate; (3) The Thai law of witness protection under trial and adjudication in Thailand, there is still no agency responsible for the protection of witnesses under trial and adjudication. Also, there is no clarity regarding the court's authority to protect witnesses. Moreover, there is the problem of intimidation of judges and judges’ related persons. Such problems affects the credibility of the justice process in Thailand; (4) The researcher suggests amending the law of witness protection under trial and adjudication to be more comprehensive and appropriate for the maximum benefit of justice system. การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี ความสำคัญและหลักกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานในชั้นศาล (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายการคุ้มครองพยานของประเทศไทยและต่างประเทศได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกาและสหพันธรัฐเยอรมนี (3) วิเคราะห์สภาพปัญหาและตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพยานในชั้นศาลของประเทศไทยและต่างประเทศ (4) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาระบบกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองพยานในชั้นศาลให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นต่อไปการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการจากเอกสาร ซึ่งผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องจาก ตัวบทกฎหมาย หนังสือ บทความ งานวิจัย เอกสารทางวิชาการอื่นๆ และข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ถึง กฎหมายการคุ้มครองพยานในชั้นศาล และข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการคุ้มครองพยานในชั้นศาล เพื่อนำมาเป็นข้อเสนอแนะแนวทางปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครองพยานในชั้นศาล ตามพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองพยานในชั้นศาล ในการแก้ไขปัญหาการข่มขู่ คุกคาม พยานบุคคลเพื่อไม่ให้มาเบิกความในชั้นศาล ทำให้ขาดหลักฐานสำคัญในการพิสูจน์ความผิดของจำเลย (2) กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองพยานในชั้นศาลของประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาและสหพันธรัฐเยอรมนีแล้วกฎหมายดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมหรือเหมาะสม (3) การคุ้มครองพยานในชั้นศาลของประเทศไทย ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง อำนาจของศาลในการคุ้มครองพยานในชั้นศาลยังไม่มีความชัดเจน และยังพบปัญหาการคุกคามผู้พิพากษาและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา ซึ่งล้วนส่งผลกระต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย (4) เสนอการแก้ไขกฎหมายการคุ้มครองพยานในชั้นศาล พระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 ให้ครอบคลุมและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อกระบวนการยุติธรรม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13517 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2654002522.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น