Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13518
Title: Problems Concerning Power to Remove from Office: A Case Study of Violation or Non-Compliance with Ethical Standards of a Person Holding a Political Position.
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจการถอดถอนออกจากตำแหน่ง ศึกษากรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
Authors: RONNACHAI THOOPTHONG
รณชัย ธูปทอง
Supatra Phanwichit
สุพัตรา แผนวิชิต
Sukhothai Thammathirat Open University
Supatra Phanwichit
สุพัตรา แผนวิชิต
[email protected]
[email protected]
Keywords: การถอดถอนออกจากตำแหน่ง จริยธรรมอย่างร้ายแรง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
Removal from Office
Serious Ethical Violation
Person Holding a Political Position
Issue Date:  18
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: This independent study aims to (1) study the concepts and principles relating to  the power to remove a person holding a political position from the office, in cases of serious violation or non-compliance with ethical standards; 2) examine problems concerning the procedures for removing a person holding a political position from office in such cases; (3) conduct a comparative study and analyze the power to remove from office in cases of serious violation or non-compliance with ethical standards under the laws of Thailand and England; and (4) propose approaches to reforming the laws regarding removal from office in cases of serious violation or non-compliance with the ethical standards to make them more suitable for Thailand.                       This independent study is qualitative research, relying on the analysis of relevant laws and documents, including statutes, academic articles, theses, judicial precedents, and other materials, under the laws of Thailand and England.                       The results of the study show that (1) the concepts and principles relating to the power to remove a person holding a political position from office in cases of serious violation or non-compliance with ethical standards must align with the doctrines of the rule of law, separation of powers, and checks and balances on the exercise of power; (2) Thai laws on removal from office in such cases include the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560, which prescribes serious violation or non-compliance with ethical standards as grounds for removal, and designates the Supreme Court to have the authority to conduct removal proceedings, and the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561, which gives  the National Anti-Corruption Commission the authority to investigate such cases and submit them to the Supreme Court for removal proceedings; (3) in comparison with Thai laws, English laws, give the House of Lords, equivalent to the Senate of Thailand, the power to remove a person holding a political position from office; and (4) it is recommended to amend the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560 and the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561 to grant Parliament the authority to remove a person holding a political position from office.
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับอำนาจ การถอดถอนผู้ออกจากตำแหน่ง กรณีความผิดเกี่ยวกับฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง (2) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการถอดถอนออกจากตำแหน่งกรณีความผิดเกี่ยวกับฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง (3) ศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ถึงการอำนาจการถอดถอนออกจากตำแหน่งกรณีความผิดเกี่ยวกับฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามกฎหมายของประเทศไทยและประเทศอังกฤษ (4) เสนอแนะแนวทางปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวการการถอดถอนออกจากตำแหน่ง  กรณีความผิดเกี่ยวกับฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรงที่เหมาะสมกับประเทศไทยยิ่งขึ้นการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้องได้แก่  กฎหมายประเทศไทย และกฎหมายประเทศอังกฤษ  โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ แนวคำพิพากษา และเอกสารอื่น ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดและหลักการที่เกี่ยวข้องกับการถอดถอนออกจากตำแหน่ง  กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องเป็นไป  ตามหลักนิติรัฐ หลักแบ่งแยกอำนาจ และหลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (2) กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการถอดถอนออกจากตำแหน่งกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม ได้แก่ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่กำหนดกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้สามารถถูกถอดถอนได้และกำหนดให้องค์กรที่มีอำนาจพิจารณาถอดถอนคือ ศาลฎีกา และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 กำหนดคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ไต่สวนและเสนอเรื่องต่อศาลฎีกา เพื่อให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งในกรณีฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง (3) จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายประเทศไทยกับประเทศอังกฤษ ซึ่งกำหนดให้สภาขุนนางหรือวุฒิสภาเป็นผู้มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ออกจากตำแหน่ง (4) เห็นควรเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 กำหนดให้รัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่ง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13518
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2654002704.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.