กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13518
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจการถอดถอนออกจากตำแหน่ง ศึกษากรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems concerning power to remove from office: a case study of violation or non-compliance with ethical standards of a person holding a political position |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพัตรา แผนวิชิต รณชัย ธูปทอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี การพิจารณาและตัดสินคดี (การถอดถอนจากตำแหน่ง) การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับอำนาจ การถอดถอนผู้ออกจากตำแหน่ง กรณีความผิดเกี่ยวกับฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง (2) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการถอดถอนออกจากตำแหน่งกรณีความผิดเกี่ยวกับฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง (3) ศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ถึงการอำนาจการถอดถอนออกจากตำแหน่งกรณีความผิดเกี่ยวกับฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามกฎหมายของประเทศไทยและประเทศอังกฤษ (4) เสนอแนะแนวทางปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวการการถอดถอนออกจากตำแหน่ง กรณีความผิดเกี่ยวกับฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรงที่เหมาะสมกับประเทศไทยยิ่งขึ้นการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้องได้แก่ กฎหมายประเทศไทย และกฎหมายประเทศอังกฤษ โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ แนวคำพิพากษา และเอกสารอื่น ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดและหลักการที่เกี่ยวข้องกับการถอดถอนออกจากตำแหน่ง กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องเป็นไป ตามหลักนิติรัฐ หลักแบ่งแยกอำนาจ และหลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (2) กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการถอดถอนออกจากตำแหน่งกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม ได้แก่ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่กำหนดกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้สามารถถูกถอดถอนได้และกำหนดให้องค์กรที่มีอำนาจพิจารณาถอดถอนคือ ศาลฎีกา และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 กำหนดคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ไต่สวนและเสนอเรื่องต่อศาลฎีกา เพื่อให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งในกรณีฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง (3) จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายประเทศไทยกับประเทศอังกฤษ ซึ่งกำหนดให้สภาขุนนางหรือวุฒิสภาเป็นผู้มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ออกจากตำแหน่ง (4) เห็นควรเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 กำหนดให้รัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่ง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13518 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2654002704.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น