กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13519
ชื่อเรื่อง: การคุ้มครองสิทธิผู้เสียภาษีอากร กรณีการอุทธรณ์ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Proection of taxpayer rights: a case of appeal of assessment according to the Revenue Code
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศาสดา วิริยานุพงศ์
อาริยา อธิสุมงคล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้เสียภาษี
การอุทธรณ์ภาษีอากร
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากร (2) ศึกษากระบวนการอุทธรณ์ภาษีอากรของประเทศไทย ประเทศอังกฤษและสาธารณรัฐฝรั่งเศส (3) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการอุทธรณ์ภาษีอากรของประเทศไทย ประเทศอังกฤษ และสาธารณรัฐฝรั่งเศส (4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงประมวลรัษฎากร และระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2564ให้มีประสิทธิภาพการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ และการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ โดยใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร  จากข้อมูลหนังสือ หรือตำราทางกฎหมาย ความเห็นทางกฎหมายของผู้ทรงคุณวุฒิ บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าอิสระ รวมทั้งกระบวนการอุทธรณ์ภาษีอากรของประเทศไทย และของต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพผลการศึกษาพบว่า (1) ภาษีอากรเป็นการใช้อำนาจรัฐในการจัดเก็บภาษีอากรจากประชาชนเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ และในการจัดเก็บภาษีอากรต้องเป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดี และหลักการคุ้มครองสิทธิผู้เสียภาษีอากรตามหลักกฎหมายปกครอง และหลักการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากร ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539  (2) กระบวนการอุทธรณ์ภาษีอากรในประเทศไทยผู้เสียภาษีอากรเมื่อถูกกระทบสิทธิจากการประเมินภาษีอากรต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนจึงจะสามารถยื่นฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้ ในขณะที่ประเทศอังกฤษ ผู้เสียภาษีเลือกที่ยื่นคำร้องให้หน่วยจัดเก็บภาษีทบทวนการประเมิน หรือยื่นคำร้องต่อองค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ได้ สำหรับสาธารณรัฐฝรั่งเศส  ให้อุทธรณ์ต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบก่อนจึงสามารถนำข้อพิพาทไปอุทธรณ์ต่อศาลได้ (3) การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากรในประเทศไทยยังมีความไม่เหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษ และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งมีความยืดหยุ่นและชัดเจนในกระบวนการอุทธรณ์มากกว่า (4) เห็นควรปรับปรุงแนวทางในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากร ดังนี้ 1) กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ให้ยาวขึ้นเป็น 90 วัน ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะสมเพียงพอต่อการเตรียมเอกสารและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีอากร 2) การกำหนดระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ให้ชัดเจน คือไม่เกิน 180 วัน ขอขยายได้ไม่เกิน 90 วัน 3) คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ควรตัดผู้แทนของกรมสรรพากรออกให้นำผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีอากรเข้ามาแทน 4) การขอทุเลาในชั้นศาลควรเป็นอำนาจ ผู้พิพากษาในการอนุมัติให้ทุเลา และสำหรับภาษีทางตรงที่มูลหนี้พิพาทไม่เกิน 1 แสนบาทไม่ต้องจัดให้มีหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับคดี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13519
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2654002712.pdf1.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น