Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13519
Title: | Proection of taxpayer rights: A case of appeal of assessment according to the Revenue Code การคุ้มครองสิทธิผู้เสียภาษีอากร กรณีการอุทธรณ์ภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร |
Authors: | ARIYA ATISUMONGKOL อาริยา อธิสุมงคล Sartsada Wiriyanupong ศาสดา วิริยานุพงศ์ Sukhothai Thammathirat Open University Sartsada Wiriyanupong ศาสดา วิริยานุพงศ์ [email protected] [email protected] |
Keywords: | : การอุทธรณ์ภาษี ข้อพิพาททางภาษี คัดค้านการประเมิน Tax Appeals tax disputes Objection to assessment |
Issue Date: | 2 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | This independent study aims to (1) study the meaning, concept, theory of protecting the rights of taxpayers (2) study the tax appeal process in Thailand, England and the French Republic (3) Analyze problems and obstacles in tax appeals in Thailand, England and the French Republic (4) Recommend ways to improve the Revenue Code. and Revenue Department regulations Concerning appeals and consideration of appeals According to the Revenue Code 2021 to be efficient.This study is a qualitative study and a comparative study using the research method from documents, books or legal textbooks, legal opinions of experts, academic articles, theses, independent studies, including the tax appeal process of Thailand and abroad to suggest guidelines for improving the efficiency of related laws.The results of the study found that (1) Taxation is the use of state power to collect taxes from the people in order to provide public services. And in collecting taxes, taxes must be in accordance with good tax collection principles. and the principles of protecting taxpayers' rights according to the principles of administrative law. and principles for protecting the rights of taxpayers According to the Administrative Procedure Act B.E. 2539 (2) Tax appeal process in Thailand, a taxpayer whose rights are affected by a tax assessment must appeal to the Appeal Committee before being able to file a lawsuit with the Tax Court while the taxpayerin England can chooses to submit a request to the tax authority to review the assessment or submit a request to the organization that considers appeals. For the French Republic, an appeal must be made to the responsible agency before the dispute can be appealed to the court. (3) The protection of taxpayers' rights in Thailand is still inappropriate when compared to England. and the French Republic which has more flexibility and clarity in the appeal process (4) agrees that the guidelines for protecting taxpayers' rights should be improved as follows: 1) lengthen the appeal period to 90 days, which is an appropriate and sufficient time for preparing documents and Consult with tax experts. 2) Clearly specifying the period for considering appeals, not more than 180 days. Request for extension not exceeding 90 days. 3) The appeals committee should eliminate representatives of the Revenue Department and bring in tax experts instead. 4) Requesting relief in court should be a power. Judge in granting respite And for direct taxes where the disputed debt does not exceed 100,000 baht, there is no need to provide collateral in requesting a stay of execution. . การค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากร (2) ศึกษากระบวนการอุทธรณ์ภาษีอากรของประเทศไทย ประเทศอังกฤษและสาธารณรัฐฝรั่งเศส (3) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการอุทธรณ์ภาษีอากรของประเทศไทย ประเทศอังกฤษ และสาธารณรัฐฝรั่งเศส (4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงประมวลรัษฎากร และระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2564ให้มีประสิทธิภาพการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ และการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ โดยใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร จากข้อมูลหนังสือ หรือตำราทางกฎหมาย ความเห็นทางกฎหมายของผู้ทรงคุณวุฒิ บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าอิสระ รวมทั้งกระบวนการอุทธรณ์ภาษีอากรของประเทศไทย และของต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพผลการศึกษาพบว่า (1) ภาษีอากรเป็นการใช้อำนาจรัฐในการจัดเก็บภาษีอากรจากประชาชนเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ และในการจัดเก็บภาษีอากรต้องเป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดี และหลักการคุ้มครองสิทธิผู้เสียภาษีอากรตามหลักกฎหมายปกครอง และหลักการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากร ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 (2) กระบวนการอุทธรณ์ภาษีอากรในประเทศไทยผู้เสียภาษีอากรเมื่อถูกกระทบสิทธิจากการประเมินภาษีอากรต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนจึงจะสามารถยื่นฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้ ในขณะที่ประเทศอังกฤษ ผู้เสียภาษีเลือกที่ยื่นคำร้องให้หน่วยจัดเก็บภาษีทบทวนการประเมิน หรือยื่นคำร้องต่อองค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ได้ สำหรับสาธารณรัฐฝรั่งเศส ให้อุทธรณ์ต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบก่อนจึงสามารถนำข้อพิพาทไปอุทธรณ์ต่อศาลได้ (3) การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากรในประเทศไทยยังมีความไม่เหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษ และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งมีความยืดหยุ่นและชัดเจนในกระบวนการอุทธรณ์มากกว่า (4) เห็นควรปรับปรุงแนวทางในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากร ดังนี้ 1) กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ให้ยาวขึ้นเป็น 90 วัน ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะสมเพียงพอต่อการเตรียมเอกสารและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีอากร 2) การกำหนดระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ให้ชัดเจน คือไม่เกิน 180 วัน ขอขยายได้ไม่เกิน 90 วัน 3) คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ควรตัดผู้แทนของกรมสรรพากรออกให้นำผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีอากรเข้ามาแทน 4) การขอทุเลาในชั้นศาลควรเป็นอำนาจ ผู้พิพากษาในการอนุมัติให้ทุเลา และสำหรับภาษีทางตรงที่มูลหนี้พิพาทไม่เกิน 1 แสนบาทไม่ต้องจัดให้มีหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับคดี |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13519 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2654002712.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.